หนึ่งในงานที่ผมทำร่วมกับกรรมการหลายๆท่านในสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thai Ecommerce Association) คือการร่าง Ecommerce Landscape หรือก็คือการตีแผ่ “ระบบนิเศน์ของการค้าอิเล็กทรอนิกส์” ออกมา โลกของการค้าออนไลน์กับออฟไลน์นั้นค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมาก วิธีการที่ผู้ประกอบการใช้แล้วประสบความสำเร็จในโลกออฟไลน์ เมื่อลองนำมาใช้แบบเดียวกันในโลกออนไลน์กลับได้ผลไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในโลกของการค้าออนไลน์แบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมนี้ ดังที่ทางผมร่างระบบนิเศน์นี้ขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ ก่อนจะลงลึกเข้าไปทำความเข้าใจในแต่ละองค์ประกอบ
จากแผนภาพ เรามาเริ่มกันที่องค์ประกอบหลักในระบบก่อนซึ่งมีอยู่ 5 ส่วน (กล่องสีฟ้าๆ) คือ
- Consumers
- Ecommerce Marketing
- Ecommerce Services (Merchants)
- Ecommerce Infrastructure
- Support Organization
ลองมาดูกระบวนการกันก่อนครับว่าเมื่อเมื่อมีการซื้อขายออนไลน์เกิดขึ้น องค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนนี้มีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างไร…
Consumers คือผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและสนใจซื้อสินค้าต่างๆในชีวิตประจำวัน คนกลุ่มนี้จะถูกเชิญชวนด้วย Ecommerce Marketing วิธีต่างๆเพื่อเชิญชวนให้เค้าเข้าไปเลือกซื้อสินค้าจาก Ecommerce Services หรือก็คือ Merchants ในแต่ละประเภท และการที่ Ecommerce Services จะให้บริการ Consumers ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นต้องมี Ecommerce Infrastructure ที่ดีเพื่อสนับสนุนให้การบริการเกิดขึ้นอย่างดีและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ซื้อ ในขณะเดียวกัน ในตลาดก็จะมี Support Organization หลายๆองค์กรที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการและผู้ซื้อเพื่อให้เกิดการซื้อขายอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้ตลาดโดยรวมของประเทศใหญ่ขึ้น พัฒนามากขึ้น
ผมจะลงรายละเอียดอธิบายทั้ง 5 ส่วนนี้ในรายละเอียดต่อจาก Infographic ด้านล่างนี้ครับ
1) Consumers
Consumers คือผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและจับจ่ายซื้อสินค้าในชีวิคประจำวัน ในโลกยุคนี้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการสั่งซื้อสินค้าจากช่องทางออนไลน์ได้ ซึ่งช้อปปิ้งออนไลน์มีประโยชน์หลายๆอย่างให้กับผู้บริโภค เช่น ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลานั่งรถ หาที่จอดรถ ไปเข้าคิวจ่ายเงิน นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกสบาย ไม่ต้องแบกสินค้ากลับบ้านเองด้วย ยิ่งโดยเฉพาะสินค้าหนักๆอย่างพวกน้ำดื่ม ข้าวสาร ผู้ขายสามารถมาส่งให้ถึงที่บ้านคุณเลยรู้มั้ยครับ และช้อปออนไลน์ยังมีโปรโมชั่นส่วนลดเด็ดๆที่มาช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากขึ้นด้วย
2) Ecommerce Marketing
Ecommerce Marketing ผมเคยให้คำนิยามคำนี้ไว้แล้วตั้งแต่ปี 2013 สั้นๆคือ “การตลาดออนไลน์ช่วยเพิ่มยอดขาย” และยาวๆคือ วิธีการตลาดที่นำมาซึ่งการช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านค้าได้มากขึ้น ไม่จำกัดว่าจะเป็นกลวิธีทางออนไลน์หรือออฟไลน์ ขอให้เป็นวิธีการที่สามารถชักชวนและเย้ายวนใจดึงให้คนเข้ามาจับจ่ายซื้อของกับร้านค้าออนไลน์ของเราได้มากขึ้น
ในมุมมองของผู้ซื้อ (Consumers): เค้าจะได้รับอิธิพลจาก Ecommerce Marketing ทางใดทางหนึ่งเพื่อเชิญชวนให้เค้ามาสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าต่างๆ
ในมุมมองของผู้ขาย (Merchants): ในฐานะของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ในการที่จะได้มาซึ่งยอดขาย คุณตำเป็นต้องคิดคำนึง ทำความเข้าใจวิธีการทำ Ecommerce Marketing ทุกวิธี เข้าใจว่ามันคืออะไร รวมทั้งข้อดีข้อเสีย และผมบอกได้เลยว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุดวิธีเดียว ในการทำธุรกิจ Ecommerce คุณมีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากการตลาดหลายๆวิธี คำแนะนำคือให้ลองใช้หลายๆวิธีเพื่อให้มันส่งเสริมซึ่งกันและกัน และสำคัญมากๆคือลองทำแล้วต้องวัดผลได้ครับ
ผมได้แยกมันออกมาเป็นทั้งหมด 13 วิธีดังนี้
- Display Ad / Banners อันนีคือวิธีดั้งเดิม คือการลงโฆษณาแบบแผ่นป้ายโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ
- Classified Listing คือการลงโปรโมทสินค้า/บริการตามเว็บไซต์ประกาสฟรี โพสฟรีต่างๆ เพื่อให้รู้จักเรา
- Search Marketing คือการลงโฆษณาบนเครื่องมือค้นหาข้อมูล เช่น Google AdWords ซึ่งเป็นการลงโฆษณาที่เราสามารถเลือกให้โฆษณาของเราขึ้นแสดงแบบเจาะจงได้มากๆตามคำค้นหาที่ผู้คนพิมพ์ค้น
- Social Media Marketing คือการลงโฆษณาบน Social Network ต่างๆ เช่น Facebook Ad ซึ่งข้อดีมากๆเลยคือเราสามารถเลือกกลุ่มคนที่จะเห็นโฆษณาได้ตามลักษณะต่างๆ ทั้งอายุ เพศ ความชอบต่างๆได้แบบเจาะจงมากๆ ทำให้โฆษณาของคุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคุณได้แบบจะๆตรงๆ
- Email Marketing คือการทำการตลาดโดยยิง Email ไปถึงกลุ่มคนที่เรามีฐานสมาชิกอยู่
- Promotion คือการคิดโปรโมชั่นต่างๆเพื่อดึงดูดให้ผู้ซื้อสนใจลองใช้บริการกับเรา เช่น จัดส่งสินค้าฟรีเมื่อสั่งซื้อตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป หรือซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง เป็นต้น
- Ad Network คือการลงโฆษณาแบบแผ่นป้ายโฆษณาแต่จะเป็นการที่เราสามารถกระจายให้โฆษณาของเราไปลงตามเวผ้บไซต์ได้หลากหลาย และเลือกลงตามหมวดหมู่ต่างๆได้ง่าย
- SEO คือการทำให้เว็บไซต์เราค้นเจอได้จาก Search Engine ต่างๆได้ดี
- Market Place คือการที่เราจะเอาสินค้าของเราเองไป “ฝากขาย” หรือ “โปรโมท” ตามตลาดกลางต่างๆ ในยุคนี้จะเริ่มมีตลาดกลางออนไลน์เปิดขึ้นมากมาย โดยปกติตลาดกลางจะเอาสินค้าของเราไปลงโปรโมทให้และเราจะเสียเงินค่า GP หรือค่าคอมมิชชั่นให้กับตลาดกลางเมื่อเกิดการซื้อขายขึ้น คำแนะนำคือผู้ประกอบการควรใช้โอกาสนี้ในการกระจายสินค้าของเราออกไปลงตามตลาดกลางต่างๆให้มากที่สุดเพื่อเป็นการสร้างยอดขายได้หลายๆทาง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องคำนึงด้วยว่าจลาดกลางเหล่านั้นไม่ได้โปรโมท Brand ร้านค้าคุณ สิ่งที่ตลาดกลางทำคือการเอาสินค้าคุณไปช่วยขายให้ เพราะฉะนั้นถ้าถามเรื่องความยั่งยืนของธุรกิจแล้ว คุณยังสมควรอย่างยิ่งที่จะมีเว็บไซต์ของคุณเอง มีชื่อโดเมนตามชื่อแบรนด์ร้านค้าคุณเพื่อเป็นเว็บไซต์กลางที่คุณใช้ประชาสัมพันธ์แบรน์ของร้านค้าคุณเอง
- Price Comparison Marketing คือการนำสินค้าของร้านค้าคุณเองไปโปรโมทให้เว็บไซต์ค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา บริการของเว็บเหล่านี้ทำตัวเป็น Portal คือจะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นที่เว็บเปรียบเทียบราคา แต่เว็บจะส่ง Traffic เข้าไปสู่เว็บเจ้าของร้านโดยตรง เพื่อเป็นการโปรโมทแบรนด์ร้านค้าและช่วยให้ร้านค้าขายตรงเองไปสู่ผู้บริโภคได้โดยไม่ต้องไปพึ่งตลาดกลางอย่างเดียว
- Affiliate Marketing คือการลงโฆษณาผ่านบริษัทแบบ Affiliate ซึ่งบริษัทกลุ่มนี้จะคิดค่าคอมมิชชั่นคุผณเมื่อเกิดการซื้อขาย เพราะเค้าจะเอาสินค้าคุณไปโปรโมทตามสื่อต่างๆที่เค้าไปร่วมเป็นพันธมิตรด้วย
- Ad Retargeting คือการโฆษณาแบบชักชวนกลับมาอีกครั้ง ลองนึกถึงเวลาคุณเชฟ้คสินค้าใดๆแล้วคุณจะไปเจอโฆษณาสินค้านั้นๆตามเว็บไซต์ต่งๆตามหลอกหลอนคุณไปนานแสนนาน lol
- Own Website ได้กล่าวอธิบายไว้แล้วตามข้อ 9
3) Ecommerce Services (Merchants)
Ecommerce Services หรือก็คือร้านค้าต่างๆ (Merchants) ซึ่งผมแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
- C2C Classified คือบริการลงประกาศฟรีต่างๆ
- B2C Retailers คือผู้ค้าปลีกออนไลน์ ผู้ค้ากลุ่มนี้จะมีการสต็อกสินค้าไว้กับตัวเอง เวลามีคนสั่งซื้อสินค้าก็จะบริการคงคลังของตัวเอง ทำให้สามารถจัดการสินค้าได้แบบเบ็ดเสร็จ
- B2C E-Market Place คือตลาดกลางออนไลน์ ผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะไม่สต็อกสินค้าเอง แต่จะเป็นการไปรวบรวมผู้ขายหลายๆเจ้าให้มาวางขายสินค้าผ่านตลาดกลาง และเมื่อเกิดการซื้อขายขึ้น ตลาดกลางจะบริการคำสั่งซื้อโดยการประสานกับร้านค้าเจ้าของสินค้านั้นๆเพื่อให้ส่งของไปให้ผู้ซื้อต่ออีกทอดหนึ่ง
- B2B คือผู้ค้าที่ขายสินค้าทีละลอตใหญ่ๆ ซื้อทีละมากๆแบบนึงจำนวนมากๆ
- Social Commerce คือร้านค้ากลุ่มที่เอาประโยชน์จาก Social มาใช้ในการค้าขาย เช่น
- Price Comparison คือการซื้อขายผ่านเว็บไซต์เปรียบเทียบราคา
- Cross Border คือการสั่งซื้อจากเว็บไซต์ต่างประเทศ
4) Ecommerce Infrastructure
Ecommerce Infrastructure คือฐานกำลังที่จะช่วยให้ร้านค้าสามารถให้บริการผู้ซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
- Storefront Provider คือผู้ให้บริการเปิดหน้าร้านออนไลน์ ช่วยสร้างเว็บไซต์ร้านค้าให้
- Technology Provider คือผู้ให้บริการในการวางเว็บไซต์ของร้านค้า เช่น Hosting Provider
- Payment คือผู้ให้บริการรับชำระเงิน ร้านค้าสามารถเปิดรับชำระเงินได้หลากหลายวิธีมากๆโดยการใช้ผู้ให้บริการกลุ่มนี้
- Logistic / Distribution / Fulfillment คือผู้ให้บริการจัดส่งสินค้ารวมทั้งบริหารคำสั่งซื้อที่เข้ามาในระบบ
- Information / Education คือผู้ให้บริการด้านการศึกษา
- Performance Monitoring & Assessment คือผู้ให้บริการในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
5) Support Organization
Support Organization คือองค์ที่สนับสนุนให้เกิดการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย นอดจากนี้ยังมีหน้าที่ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ใหญ่ขึ้น และมีเงินหมุนเวียนในระบบส่วนนี้มากขึ้น ผมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ Government(องค์กรรัฐบาลต่างๆที่เกี่ยวข้อง) และ Association(สมาคมฯต่างๆที่เกี่ยวข้อง)
ผู้อ่านสามารถไปดูตัวอย่างของแต่ละองค์ประกอบได้ที่โพสนี้ครับ จะทำให้เห็นภาพว่าแต่ละส่วนคือเจ้าไหนบ้าง มีตัวอย่างชัดเจนมากๆไล่กันลงไปเลย