เมื่อขึ้นชื่อว่าการค้าออนไลน์ล่ะก็ จิตวิญญาณของมันคือการค้าที่ 'ไม่มีพรมแดน' มาตั้งแต่ที่มันเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้แล้ว เมื่อเดือนที่แล้ว ผมกดสั่งซื้อ Macbook Pro 13 นิ้ว รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว Apple เลือกที่จะให้ขายก่อนผ่านทาง Apple Online Store ผมสั่งตอนเที่ยงวันจันทร์ พบว่าสินค้านั้นอยู่ที่ประเทศ Singapore รุ่งขึ้นอังคารเย็นทาง DHL มารับสินค้าจาก Apple เพื่อเตรียมจัดส่ง และภายในวันเดียว สินค้านั้นก็เหาะบินมาหาผมถึงบ้านในวันพุธตอนเย็น! DHL Order Tracking ของ Macbook ที่ผมสั่งซื้อ การค้าออนไลน์ข้ามประเทศมันจะเป็นเรื่องปกติมากขึ้นไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการสั่งซื้อทั้งสินค้าและอาหารได้เลยง่ายๆผ่าน Online ผมจะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ข้ามประเทศที่ Jack Ma ตั้งขึ้นมาเมื่อ 10 ปีที่แล้วครับ เมื่อเดือน April 2010 ชื่อว่า AliExpress หลายคนอาจจะสับสนระหว่าง Alibaba และ AliExpress ว่าตกลงมันคือสิ่งเดียวกันหรือเปล่า คำตอบคือ Alibaba เป็นแพลตฟอร์ม B2B … Continue reading AliExpress อาวุธลับของแจ๊คหม่า บุกตลาดการค้าออนไลน์โลก
Category: Ecommerce News & Analysis
ค้าปลีกยุคใหม่ในแบบ Starbucks Dewata Bali สาขาใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia
ผมเป็นคนชื่นชอบกาแฟอย่างเป็นชีวิตจิตใจ และแบรนด์หนึ่งที่ชอบคือ Starbucks เวลาผมเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ผมก็ไม่พลาดที่อยากจะเข้าไปเยี่ยมชมร้าน Starbucks ทั้งๆที่ก็รู้ครับ ว่าเครื่องดื่มและอาหารที่นำเสนอ ก็คล้ายๆกันไปทุกสาขา แต่มันมีแรงดึงดูดที่อยากให้เข้าไปเยี่ยมชมเสมอ คุณรู้สึกเหมือนผมมั้ย ช่วงเดือน เม.ย. ผมได้เดินทางไป บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และไม่พลาดอีกเช่นเคย ที่ไปเยี่ยม Starbucks Dewata Coffee Sanctuary ซึ่งเป็น Starbucks สาขาใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลองเดินชมไปกับผมกันครับ... Starbucks Dewata Bali แบ่งออกเป็นโซน Indoor อาคาร 2 ชั้นและ Outdoor โดยมีแนะนำ 10 ขั้นตอนในการเข้าดื่มด่ำประสบการณ์ดังนี้ Coffee Farm บอกเล่าเรื่องราวการปลูกกาแฟ มีสวนต้นกาแฟของจริงให้ดูด้วย โดลูกเชอรี่กาแฟ 25 ลูก จะผลิตเอสเพรสโซ่ได้ 1 ช็อต และตัวอย่างสวนนี้ เป็นขนาดที่ครอบครัวเกษตรกรขนาดเล็กของอินโดนีเซียเพาะปลูกกาแฟกันจริงๆ ซึ่งจะสามารถผลิตกาแฟได้ 33,000 แก้ว/ปี ขั้นต่อมาเป็นกระบวนการ … Continue reading ค้าปลีกยุคใหม่ในแบบ Starbucks Dewata Bali สาขาใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia
อนาคตค้าปลีกไทย จะเป็นอย่างไร?
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญร่วมเวทีงาน Brand Inside Forum 2019: New Retail เสวนาในหัวข้อ อนาคตค้าปลีกไทย (Future of Thai Retail) โดยผมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ร่วมกับพี่หมู วรวุฒิ อุ่นใจ ที่เป็นประธาน Thai Retailers Association และ CEO ของ COL Public Company Limited เจ้าของ OfficeMate เราใช้เวลาพูดคุยกันเกินเวลาไปมาก เพราะมีเนื้อหาให้พูดคุยกันเยอะทีเดียว ผมได้เรียนรู้หลายๆเรื่องเกี่ยวกับค้าปลีกไทยจากพี่หมูในเวทีร่วมเสวนาเดียวกัน ผมเลยขอถือโอกาส "รวบรวม" สิ่งที่มีการแชร์กันในเวที จากหลายๆนักเขียนที่สรุปเอาไว้ได้อย่างดีแล้วไว้ที่บทความนี้ครับ บทความด้านล่างนี้ ผมได้นำบทสรุปสำคัญจาก 2 แหล่ง มาเรียบเรียง เสริม และปรับใหม่เล็กน้อย (เพราะทั้ง 2 แหล่งเขียนบทสรุปไว้ได้ดีมากๆแล้ว) แหล่งแรก คือ จากพี่ดิ้ง Wilas TheInk Chamlertwat ที่เขียนสรุปไว้ทันทีที่เราพูดเสวนาจบ … Continue reading อนาคตค้าปลีกไทย จะเป็นอย่างไร?
บริการ Grab Singapore มีอะไรใหม่กว่าไทยบ้าง?
สัปดาห์นี้ผมอยู่ที่ประเทศสิงค์โปรครับ มาเข้าร่วมงาน eTail Asia 2019 ที่มาเข้าร่วมแทบทุกปี และปีนี้ก็เช่นเคย มีขึ้นแชร์บนพาแนลด้วย ไว้จะมาเล่าให้ฟังกันอีกที ใครๆก็คงได้เคยใช้บริการแกร๊บที่ไทยนะครับ ปกติผมมาที่สิงค์โปรก็ชอบใช้ Grab เรียกแท๊กซี่ ครั้งนี้ก็ไม่พลาด เรามาดูกันดีกว่าว่า Grab Singapore มีอะไรใหม่แตกต่างจากบ้านเราบ้าง หน้าแรกด้านบนสุดคือ Grab Payสื่อให้เห็นเลยว่า Grab พยายามกันให้คนมาใช้ Grab Pay โดยทำตัวเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผมเชื่อว่าภายในปีนี้ Grab ไทย จะเพิ่มเมนูแบบนี้ตามมาแน่ๆ เพราะด้วยการจับมือกับ KBANK ที่ประกาศไว้แล้วว่าจะมีความร่วมมือกันปีนี้ พอกดเข้าไปแล้วเป็นแบบนี้ อย่าสนใจนะว่ามีเงิน 0.00 SGD 😂 ตัวเลือกการเดินทางหลากหลายมีประเภทให้เลือกหลายอย่างดีแท้ หลายๆอันยังไม่มีในไทย Grab Share คือมีเพื่อนร่วมเดินทางด้วย อันนี้เคยลองกับ Uber ที่เคลิฟอร์เนียแล้วเพิ่งรู้ว่ามีในสิงค์โปรแล้ว Grab Hitch คือตัวที่สนใจสุด ตอนแรกจองอันนี้ แต่พบว่าไม่มีคนตอบรับ เข้าใจว่าน่าจะเป็นโมเดล Car Pool นั่นเอง … Continue reading บริการ Grab Singapore มีอะไรใหม่กว่าไทยบ้าง?
แอบดูเทคโนโลยีร้านค้าปลีกไร้มนุษย์ของ Circle K และ Watson ที่ฮ่องกง (Unmanned retail store)
เรายังคงวนเวียนกับทริปฮ่องกงของผมอยู่นะครับ ผมถือโอกาสทัวร์เรียนรู้เทคโนโลยีของร้านค้าปลีกที่ไม่ต้องมีแคชเชียร์ที่ประเทศฮ่องกงกันครับ รายแรก คือ Fung Group ซึ่งเป็นเครือบริษัทยักษ์ใหญ่ของฮ่องกง ที่โตมาจากธุรกิจ Import-Export Agent จนวันนี้มีธุรกิจทั้ง ร้านสะดวกซื้อ, ค้าปลีก, ขนส่ง มากมาย ผมได้ไปทัวร์ที่ Explorium Hong Kong ซึ่งเป็น Tech & Innovation Space of Fung Group ที่เพิ่งเปิดเมื่อเดือนที่แล้วนี่เอง ขอบคุณ Kiril ที่ต้อนรับผม และพาทัวร์นะครับ Fung เป็นเจ้าของร้านค้าปลีก Super K เป็นร้านสะดวกซื้อใหญ่รายนึง โดย Fung จับมือตั้งบริษัทร่วมกับ JD.COM ในชื่อ JD AI เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI and Retail Technology ตอนนี้โมเดลของ Unmanned Store ของ Fung ใช้ … Continue reading แอบดูเทคโนโลยีร้านค้าปลีกไร้มนุษย์ของ Circle K และ Watson ที่ฮ่องกง (Unmanned retail store)
ทัวร์บริษัท Tencent พร้อมลองสังคมไร้เงินสดที่จีนมันแค่ไหนกันเชียว
จากทริปฮ่องกง ผมนั่งรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมฮ่องกงสู่เมืองใหญ่ๆในจีนเข้าไว้ด้วยกัน เส้นทางเชื่อมฮ่องกงนี้เพิ่งเปิดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้เองครับ รถไฟใช้เวลาเดินทางจากสถานี Hong Kong West Kowloon ไป Shenzhen ที่สถานี Futian ใช้เวลาเดินทางแค่ 15 นาทีเท่านั้นเอง สถานีใหญ่เหมือนสนามบินเลยทีเดียว ประเทศจีนนี่น่ากลัวจริงๆ พัฒนาเร็วมากๆ และเมื่อผมต้องการขึ้นรถไฟใต้ดินที่เซินเจิ้นไปโรงแรม ผมก็เจอรับน้องทันที! จะเข้าสถานีต้องใช้ WeChat Pay ครับ ตึ่ง! คนจีนมีแต่คนใช้มือถือเปิด QR Code แล้วเดิน ตื๊ดเข้าไปเลย ส่วนผมต้องไปเอาเงินสดกดเหรียญจากตู้ซื้อตั๋ว และนี่คือความทรงพลังของ Tencent เจ้าของ WeChat ที่เป็นแพลตฟอร์มเพื่อการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของคนจีนไปแล้ว จนใครๆจะขึ้นรถใต้ดินก็ต้องจ่ายด้วย WeChat Pay รุ่งขึ้นผมมีนัดไปทัวร์สำนักงานงานใหญ่ของ Tencent บริษัท Technology ผู้ทรงอิทธิพลมากสุดๆระดับเดียวกับ Alibaba สำนักงานตั้งอยู่ใน Hi-Tech Park ซึ่งเปรียบแล้วก็ประมาณเมืองใหม่ที่รัฐบาลชชักชวนให้เอกชนเข้ามาลงทุนเปิดสำนักงานกันอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็น Tencent, Huawei, DJI สำนักงานใหญ่สมภาคภูมิ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพนักงานแทบทุกสิ่ง … Continue reading ทัวร์บริษัท Tencent พร้อมลองสังคมไร้เงินสดที่จีนมันแค่ไหนกันเชียว
ว่าด้วยเรื่อง Cash on Delivery (COD) และแนวโน้ม E-Wallet ในไทย
ในงาน Priceza E-Commerce Trends 2019 ผมได้มีการพูดถึงหนึ่งในเทรนด์สำคัญปี 2019 คือ ปีหน้าผมคาดว่าอัตราการเติบโตของการชำระเงินช่องทางอิเล็คทรอนิกส์จะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งยังมีการคุยกันในพาแนลกับ K.Mike จาก Lazada และพี่อั้ม จาก KBANK การจ่ายด้วยเงินสด ณ ตอนรับสินค้า Cash on Delivery ยังคงกินสัดส่วน 60%-70% ของวิธีการชำระเงินซื้อสินค้าออนไลน์ใน Emarketplace ชั้นนำในไทย ในงาน Asian E-Tailing Summit 2019 มีนายกสมาคมฯการค้าออนไลน์จาก Philippines ก็บอกเหมือนกันว่า COD ที่ประเทศเค้าก็ยังคงสัดส่วนสูงมากกว่า 70% เลยทีเดียว เหตุผลเพราะว่าในช่วงแรกผู้บริโภคยังไม่มั่นใจในบริการการช้อปออนไลน์รวมทั้งไม่สะดวกในการจ่ายเงินผ่านทางช่องทางอื่นๆ เพราะยึดติดกับเงินสด COD ได้ทำหน้าที่ของมันได้ดีมากแล้ว ในการช่วยทำให้ผู้บริโภคเปิดใจ ทดลองสั่งซื้อของออนไลน์ แต่มันมีข้อจำกัดอยู่... ต้นทุนสูง มีการศึกษาของแบงค์ชาติพบว่าการจ่ายเงินด้วยเงินสด จะมีต้นทุนในการบริหารจัดการเงินที่สูงกว่าการชำระเงินด้วย e-Payment (mobile/internet banking) ถึง 4 เท่า … Continue reading ว่าด้วยเรื่อง Cash on Delivery (COD) และแนวโน้ม E-Wallet ในไทย
Omni-Channel ที่ฮ่องกง และทำไมคนฮ่องกงชอบ Click & Collect
อีกหนึ่งในเทรนด์ที่ผมพูดในงาน Priceza E-Commerce Trends 2019 คือ ความสำคัญของ Omni-Channel จะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในปี 2019 การค้าหลากหลายช่องทาง (Omnichannel) เป็นคำที่ใครๆก็พูดถึงกันมานานแล้ว แต่ Priceza เชื่อว่า Omnichannel จะเห็นชัดเจนอย่างมากในปีหน้า Omnichannel คือ การสร้างตัวตนของแบรนด์คุณไปในทุกๆช่องทางที่ลูกค้าของคุณอยู่ และทำให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อผ่านทางช่องทางไหนก็ได้ที่ลูกค้าสะดวกที่สุด ณ ขณะนั้นๆ จากเทรนด์ที่ 1 เรื่อง ถนนทุกสายมุ่งสู่การค้าออนไลน์ เราฉายภาพให้เห็นแล้วว่า Digital Platform ใหญ่ๆต่างจะเปิดให้บริการส่งเสริมการค้าออนไลน์ มันนำมาซึ่งโอกาสที่ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางที่หลากหลายมากขึ้นในการเข้าถึงลูกค้า และไม่ใช่แค่เข้าถึงแบบเดิม แต่จะเป็นการที่ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอสินค้าและปิดการขายได้เลยผ่านช่องทางเหล่านั้น ปีหน้า ผู้ประกอบการจะนำ Omnichannel มาใช้มากขึ้นในการค้าขายอย่างมีนัยสำคัญ เหตุผลเพราะว่า การค้าผ่านทางช่องทางใดช่องทางหนึ่ง จะเป็นการปิดโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าในช่องทางอื่นๆ รวมทั้งการแข่งขันที่สูงขึ้นในช่องทางเดิม เช่น E-Marketplace จากที่ผมได้คุยกันใน งาน Asian E-Tailing Summit 2018 รวมทั้งได้ทัวร์ดูธุรกิจค้าปลีกที่นั่น ผมพบว่าคนฮ่องกงนิยมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และเลือกไปรับสินค้าเอง ณ จุดรับสินค้ามาก … Continue reading Omni-Channel ที่ฮ่องกง และทำไมคนฮ่องกงชอบ Click & Collect
5 เรื่อง ที่ผมได้เรียนรู้จาก Hema Supermarket ของ Alibaba
ในทริปเซินเจิ้น ผมได้แวะไปเดินศึกษาร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตของ Alibaba ที่ชื่อว่า 'เหอหม่า' Hema Supermarket หลายๆคนน่าจะเคยได้ยิน Hema Supermarket มาบ้างแล้วนะครับ เพราะว่าสื่อไทยก็ทำข่าวกันหลายเจ้าแล้ว ไม่ถึงกับเป็นเรื่องใหม่เอี่ยม ครั้งนี้ผมจะมาแชร์สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการได้เข้าไปศึกษา Hema ด้วยตัวเอง 1) ยกระดับความสดไปอีกระดับ สดกว่านี้ก็จับเองในทะเลแล้ว โซนที่เป็นไฮไลท์เลยสำหรับผมคือโซนอาหารทะเลสดได้ สดแบบที่กำลังว่ายน้ำกันอยู่เลยทีเดียว ลูกค้าเลือกช้อนเอาเลยครับว่าอยากกินปูตัวไหน กุ้ง หอย ปู ปลา มีให้เลือกสดๆแบบว่ายน้ำอยู่เลย ผมยังไม่เห็นสดระดับนี้ในไทยเลย แม้แต่ในตลาดสด ก็ยังไม่สดขนาดว่ายน้ำแบบนี้ น่าสนใจว่า Hema บริหารงานดูแลของสดว่ายน้ำแบบนี้ยังไงให้มีประสิทธิภาพ และทำไมในไทยยังไม่มีคนทำแบบนี้ได้ หรืออาจจะเพราะคนไทยไม่ได้ต้องการสดขนาดนี้ก็เป็นได้ โดยรวมโซนอาหารสด ทำให้ประสบการณ์การช้อปที่ตื่นเต้นดี เดินแล้วหิว อยากเป็นเลือกทาน อ้อ แล้วเค้ามีโซนที่ปรุงสดๆให้เลือกทานได้เลยด้วย 2) รวมพลัง หน้าร้าน + ศูนย์กระจายสินค้า จุดจุดขายของ Hema ที่สำคัญเลย คือกดสั่งออนไลน์แล้วรอรับได้ภายใน 30 นาที สำหรับคนที่อยู่ในรัศมีของสาขา 3 … Continue reading 5 เรื่อง ที่ผมได้เรียนรู้จาก Hema Supermarket ของ Alibaba
ว่าด้วยเรื่อง…สนช.ผ่านร่างกฎหมายการเก็บภาษีคนขายของออนไลน์
ว่าด้วยเรื่อง...สนช.ผ่านร่างกฎหมายการเก็บภาษีคนขายของออนไลน์ วันนี้นักข่าวโทรหาหลายสำนัก แต่ไม่ทันได้คุยเพราะติดธุระอยู่ต่างประเทศ ใจความสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ (ที่มาจากบทความ BrandInside) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลใดที่มีความเคลื่อนไหวทางบัญชีทั้งรับและโอนผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบเพื่อนำไปสู่การเก็บภาษี โดยเรียกว่าเป็น “ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ” และดูจากเงื่อนหนึ่งในสอง ดังนี้ 1. ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 3,000 ครั้ง (หรือถ้าคิดแบบเฉลี่ย จะตกวันละประมาณ 8.2 ครั้ง) 2. ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 400 ครั้ง (มีการปรับเปลี่ยนในที่ประชุม สนช. จากยอดเดิมคือ 200 ครั้ง) แต่ยอดรวมยังคงเดิม คือเริ่มต้นที่ 2,000,000 บาทขึ้นไป ขอคิดดังๆว่าคนเสนอกฎหมายได้ใช้วิธีอะไรในการกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมา??! ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 3,000 ครั้ง นั่นคือแค่วันละ 8 รายการก็เข้าข่ายแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการผ่านร่างกฎหมายนี้ คิดว่าคนจะพยายามตีตัวออกนอกระบบการชำระเงินผ่านธนาคาร คนจะเลือกถอนและฝากก้อนใหญ่ๆแทน PromptPay ที่อยากให้เกิด เพื่อลดต้นทุนการบริหารเงินสดของชาติก็น่าจะเหนื่อยหน่อยนะครับ มีการสุ่มเก็บตัวอย่างร้านค้าออนไลน์มานับธุรกรรมดูบ้างไหม? ทางที่ดีควรมีการเลือกตัวอย่างร้านค้าออนไลน์มาแล้วหาตัวเลขที่เหมาะสมก่อน โดยเริ่มจากจำนวนธุรกรรมมากๆแล้วค่อยๆขยายผลไปครับ