SME Clinic E-Commerce Platform ทำยังไงให้ตอบโจทย์ เข้าถึงผู้ใช้มากที่สุด!

จากวิศวกรคอมพิวเตอร์ สู่เจ้าของผู้พัฒนาและให้บริการ E – Commerce Platform ที่ Startup รุ่นใหม่ ห้ามพลาด !

คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา แห่ง Priceza.com ผู้สร้างสรรค์ธุรกิจช่องทางเทียบราคาสินค้าใน Website โดยได้ไอเดียพัฒนาธุรกิจมาจากตนเองเป็นหลัก ในช่วงเวลาที่ต้องการเลือกซื้อ–ขายสินค้า จำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบราคา จึงทำให้เกิดไอเดียขึ้น จากนั้นได้ศึกษาโดยนำโมเดลในต่างประเทศที่น่าสนใจ มาเป็นโมเดลในการพัฒนาธุรกิจ Priceza.com ที่เป็นรูปแบบ Search Engine (คล้ายกับ Google ซึ่งเป็นเครื่องมือค้นหาเช่นกัน) สิ่งที่ Priceza.com ทำก็คือ เครื่องมือค้นหาสินค้าที่เรียกว่า Shopping Search Engine

ด้านเถ้าแก่น้อยยุคไอที คุณณัฐวิทย์ ผลวัฒนสุข Managing Director ของ InwShop (เทพช๊อป) กับประสบการณ์ 3 ปี ยอดขายพันล้าน และถือว่าเป็นไอดอลของเด็กยุคใหม่ในการสร้างธุรกิจอย่างมาก ซึ่ง lnwShop.com เป็นผู้ให้บริการร้านค้าออนไลน์ฟรี ที่ไม่มีค่าบริการแอบแฝง แต่สำหรับจุดเริ่มต้นนั้น หนึ่งในผู้ก่อตั้ง lnwShop (เทพช๊อป) อย่าง คุณณัฐวิทย์ เล่าว่า การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าออนไลน์ มีกำแพงอุปสรรคอย่างราคา ความรู้ต่าง ๆ จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาได้

ทางด้าน คุณธนาวัฒน์ แห่ง Priceza.com โดยส่วนตัวเคยเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์มาก่อน จึงเกิดไอเดียสร้างสรรค์ธุรกิจขึ้นโดยใช้พื้นฐานวิศวกรคอมพิวเตอร์ Program Platform ขึ้นมา เพื่อให้เจ้าของร้านสินค้าออนไลน์เริ่มต้นได้ง่ายที่สุดในการขายสินค้า และเปิดให้บริการฟรีอีกด้วย

คุณธนาวัฒน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า หากย้อนกลับไปเมื่อสมัยก่อนที่ Google กำลังเติบโตอย่างมาก ในช่วงนั้นยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่า E–Commerce Platform แต่นิยามสิ่งที่กำลังจะทำว่าเป็น Internet Business ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่มองเห็นว่าในอนาคตอินเทอร์เน็ต จะต้องโตแน่ ๆ จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจว่าต้องทำธุรกิจที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

ส่วนทางด้าน  คุณณัฐวิทย์ เริ่มต้นทำธุรกิจ lnwShop (เทพช้อป) กับกลุ่มเพื่อนสนิทหลังจากที่เรียนจบ ได้ใช้ความสามารถที่ถนัด และมี Passion ในการทำงาน บุคลากรในองค์กรประกอบด้วย วิศวกรคอมพิวเตอร์ทั้งบริษัท

สำหรับกลยุทธ์การเติบโต คุณธนาวัฒน์ แห่ง Priceza.com อธิบายว่า สิ่งที่ Priceza.com ทำคือ Market Place เป็นสิ่งที่ผสานเข้าด้วยกันของลูกค้าสองฝั่ง ถ้าเปรียบเป็นธุรกิจ SME ก็คือ ระหว่าง Customer และ Supplier แต่สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ จะมีธุรกิจโมเดลที่เรียกว่า Market Place ซึ่งจะมีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ผู้ใช้งาน หมายถึง ผู้บริโภคที่อยากซื้อสินค้า จะมีคำถามในใจว่าซื้อที่ไหน นี่คือลูกค้าของ Priceza กลุ่มแรก โดยลูกค้ากลุ่มไม่ต้องจ่ายเงินให้กับ Priceza.com เพื่อใช้บริการ เพราะหน้าที่ของ Priceza.com เป็นเครื่องมือค้นหาสินค้า

ส่วนลูกค้ากลุ่มที่ 2 คือ ร้านค้าออนไลน์ ที่ Priceza.com รวบรวมมาเพื่อเปรียบเทียบราคา ซึ่งลูกค้ากลุ่มที่ 2 นี้จะเป็นสปอนเซอร์ใช้พื้นที่  เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มแรกไม่ต้องเสียเงิน เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากแนะนำสตาร์ทอัพรายใหม่ ๆ คือ ต้องหาช่องทางให้ได้ว่า คุณต้องการทำเงินจากลูกค้ากลุ่มไหน

ในส่วน คุณณัฐวิทย์ แห่ง InwShop (เทพช๊อป) กล่าวถึงกลยุทธ์การเติบโตด้วยเช่นกันว่า เน้นที่การสร้าง Platform ที่เป็น  Website สำเร็จรูป ให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างร้านค้าบน Website ได้ง่าย ๆ เพียงแค่กรอกชื่อสมัครเป็นสมาชิก จากอดีตที่ต้องไปจดทะเบียนเว็บไซต์ ว่าจ้าง Programmer, Web Master แต่การใช้ lnwShop (เทพช๊อป) ไม่ต้องยุ่งยากแบบนั้น รูปแบบจะคล้าย Facebook  เช่น หากผู้ประกอบการมีความต้องการเข้าไปอยู่ใน Facebook ก็สมัคร Facebook แต่ถ้าอยากมี Website ร้านค้าออนไลน์ ก็ให้มาสมัครที่ lnwShop (เทพช๊อป) เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์แล้ว ผู้ประกอบการก็จะมีหน้า Website เป็นของตัวเอง

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญของ E-Commerce Platform ที่ 2 วิทยากรเห็นพ้องต้องกันก็คือ เรื่องของการทำตลาด โดยเฉพาะการตลาดเชิงรุก และการตลาดเชิงรับ เพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการแพลตฟอร์มสามารถสร้างกำไร เพราะหากไม่มีกลุ่มลูกค้ารู้จักเข้าถึงร้านค้าออนไลน์ ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถขายของได้ ตัวอย่างเช่น การตลาดเชิงรับทาง lnwShop (เทพช๊อป) ออกแบบให้ร้านค้าเหมาะแก่การ Search Engine อย่าง Priceza.com และ Google.com สามารถเก็บข้อมูลได้ เนื่องจากลูกค้าเมื่อต้องการสินค้าจะใช้ Search Engine ค้นหาสินค้าในฐานะที่ให้บริการด้าน E-Commerce Platform ต้องทำให้เว็บไซต์ขึ้นอันดับ 1 ในหน้าแรกของ Search Engine ทำให้ลูกค้าเมื่อต้องการค้นหาสินค้าแล้วเจอร้านค้าของผู้ประกอบการที่ใช้บริการผ่าน lnwShop (เทพช๊อป) สิ่งที่เรียกว่า SEO และทำเป็นสองทาง ต้องทำควบคู่ไปกับการตลาดเชิงรุกที่ต้องใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์เข้ามาช่วย

ให้ลองนึกภาพ การเปิดร้านค้าออนไลน์เหมือนการเปิดร้านค้าในโลกออฟไลน์นั่นแหละครับ โมเดลแรกคือการเปิดร้านค้าเอง โมเดลที่สองคือการเปิดขายในห้างสรรพสินค้า โมเดลแรกนี้นึกภาพว่ามันเหมือนการเช่าอาคารพาณิชย์เพื่อทำมาค้าขาย เราเช่ามาในราคาย่อมเยาเพราะอาคารนี้อยู่ในทำเลไม่ได้ดีมากนัก เพราะถ้าอยู่ในทำเลดีมากมีคนเดินไปเดินมาเยอะก็ย่อมมีค่าเช่าที่แพงกว่า เพราะฉะนั้นเมื่อคุณเช่าตึกขึ้นป้ายร้านค้าแล้ว คุณก็ต้องทำการป่าวประกาศให้คนทราบเพื่อจะได้เดินทางไปซื้อของที่ร้านค้าคุณ เมื่อเทียบกับโลกออนไลน์ คือคุณต้องทำการตลาดออนไลน์เพื่อส่งคนมาที่ร้านค้าหรือเว็บไซต์ของคุณนั่นเอง ส่วนโมเดลสองหรือการเอาสินค้าเข้าห้างฯ ก็เหมือนกับการที่เราเองสินค้าเข้าไปวางในพลาซ่าในห้างสรรพสินค้า ห้างฯทำการตลาดให้คนเข้าห้าง คุณมีหน้าที่สนับสนุนให้มีสินค้าคุณภาพดีๆเข้าห้างฯและเมื่อมีการซื้อขายขึ้น ห้างฯจะรับเงินไว้แล้วหักค่า GP (Gross Profit / Commission) เอาไว้ก่อนส่งคืนเงินที่เหลือให้คุณ เมื่อเทียบในโลกออนไลน์ก็คือการเอาร้านค้าออนไลน์ของคุณขึ้นตลาดกลางออนไลน์ (E-Marletplace) นั่นเอง – ธนาวัฒน์

สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับผู้ประกอบการคือ การขายของออนไลน์ ต้องการสินค้าที่จับต้องได้ และยังไม่มีอะไรมาทดแทน โดยเฉพาะสินค้าแบบใดที่ขายไม่ได้ในออฟไลน์ ก็ไม่ควรมาขายในออนไลน์ อย่างเช่นสินค้า ผิดกฎหมายต่าง ๆ ที่ห้ามขายในราชอาณาจักรไทย หรือสินค้าบางประเภทที่กฎหมายห้ามขายในระบบออนไลน์ อย่างเช่น ยารักษาโรค เพราะต้องมีใบสั่งจากแพทย์

เพราะฉะนั้นอยากฝากให้ผู้ประกอบการศึกษาเรื่องของกฎหมายว่าสินค้าประเภทใดที่ห้ามขายในโลกออนไลน์ หรือแม้กระทั่งเรื่องภาษี โดยผู้ประกอบการ E–Commerce ต้องขึ้นทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือร้านค้า ให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นว่าร้านค้าสามารถไว้ใจได้อีกด้วย

Reference: http://www.bangkokbanksme.com/article/4933

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s