เมื่อ Alibaba บุก ASEAN ตอกย้ำอนาคตอีคอมเมิร์ซ

นาทีนี้ ถ้าจะให้พูดถึง Jack Ma หรือ Alibaba ในแวดวงอีคอมเมิร์ซน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ยิ่งที่ผ่านมามีข่าวฮือฮา เมื่อจู่ๆ Alibaba ก็หันไปร่วมมือกับมาเลเซีย เพื่อสร้าง Digital Free Trade Zone (DFTZ) หรือ เขตการค้าเสรีดิจิตอล แล้ว Alibaba กำลังจะทำอะไรกันแน่!? หลายท่านอาจมีคำถามในใจมากมาย ผมขอเป็นผู้ช่วยในการไขข้อข้องใจให้นะครับ

Jack Ma.jpg

ก่อนอื่นผมขอเริ่มจากคำถามที่ว่า

ทำไม Alibaba ต้องเข้ามาอาเซียน

หลังจากที่ Alibaba เข้ามาซื้อ Lazada ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วนะครับว่า “เขามาแน่นอน” แล้วทำไมต้องภูมิภาคนี้ด้วย ปัจจัยแรกเลยครับ จำนวนผู้บริโภคในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆกว่า 600 ล้านคน ประกอบกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซแบบก้าวกระโดด ซึ่งมีผลการวิจัยของ Google และ Temasek ได้ประมาณการณ์ขนาดตลาดอีคอมเมิร์ซของอาเซียนไว้ว่า ในปี 2015 มูลค่าตลาดจะอยู่ราวๆ 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และตลาดจะโตขึ้นถึง 9 หมื่นล้านในปี 2025 ถ้าดูจากตัวเลขนี้แล้วก็จะมองเห็นโอกาสและศักยภาพของภูมิภาคนี้ จึงตัดสินใจก้าวเข้ามาลงทุนได้ไม่ยากครับ การเข้ามาตลาดอาเซียนเป็นการตอกย้ำว่า ในอนาคต Alibaba จะนำสินค้าจีนไปไกลทั่วโลกแน่นอน

SOURCE: Singstat.gov; Malaysia government, Vietnam government,
McKinsey, Temasek, Google
SEA eCommerce expected to 16x by ...ตัวเลขน่าสนใจ

ในปี 2016 ที่ผ่านมา ได้มีข้อมูลจาก IMF รายงานถึงอันดับประเทศที่มี GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ที่มีการคำนวณตามหลักของ PPP – Purchase Power Parity (เข้าใจง่ายๆ คือการวัด GDP โดยมีการปรับเทียบเคียงราคาของสินค้าบริการ รวมทั้งเงินเฟ้อในประเทศนั้นๆเข้ามาร่วมคิดด้วย ทำให้เห็นภาพที่ถูกต้องของ GDP มากขึ้น) GDP (PPP) นอกจากจะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจภาพรวมของแต่ละประเทศแล้ว ยังสะท้อนว่าประชากรในประเทศนั้นๆมีกำลังการบริโภคและชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไรได้อีกด้วย การวิจัยในครั้งนี้ได้แสดงข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ครับ

  1. ประเทศจีนมี GDP (PPP) มาเป็นอันดับหนึ่ง เหนือกว่าสหรัฐอเมริกา บ่งบอกได้ว่า สภาวะเศรษฐกิจจีนนั้นมีความแข็งแรงกว่าประเทศอื่นๆในโลก
  2. ในสิบอันดับแรกมีประเทศในภูมิภาคเอเซียถึง 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่า ภูมิภาคเอเซียนั้นมีสภาวะเศรษฐกิจที่ดีกว่าหลายๆภูมิภาค
  3. อินโดนีเซีย เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ติดท็อปเท็นในลำดับที่ 8 (ในขณะที่ประเทศไทยของเรานั้นอยู่ในลำดับที่ 20) น่าจับตามองครับสำหรับเศรษฐกิจในอินโดนีเซีย

GDP PPP 2016

“เขา” ทำอะไรไปบ้าง

  • ซื้อ Lazada ตีตลาด Local

อีกหนึ่งข่าวใหญ่ในวงการอีคอมเมิร์ซเมื่อปีที่แล้วคงจะเป็นข่าวควบรวมกิจการระหว่าง Alibaba และ Lazada กับเงินลงทุนถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ การเข้ามาของ Alibaba ในครั้งนี้เป็นการเจาะตลาดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริงครับ ด้วยสรรพกำลังดั้งเดิมของ Lazada ทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ทำให้ Alibaba เข้าถึงตลาด Local ได้ง่ายขึ้น และทำให้สินค้าจากจีนหลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้ได้มากขึ้น ยิ่ง Lazada ในสิงคโปร์ ได้นำสินค้าจาก Taobao เข้ามาเป็นอีกเมนูหนึ่งในเว็บด้วย แผนขยายตลาดของ Alibaba คงไม่ยากนักครับ

lazada taobao.jpg

  • ลงทุน Ascend แข่งขันบริการชำระเงิน

ปลายปีที่แล้ว ANT FINANCIAL ในเครือ Alibaba ได้เข้าถือหุ้น 20% ของ Ascend Money อย่างเป็นทางการ การร่วมมือกันในครั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ระบบการชำระเงินให้สะดวก และปลอดภัยมากขึ้น ตรงนี้ผมมองว่าเมื่อทั้งสองบริษัทจับมือกันแล้วก็เพื่อ Jack Ma อยากสร้างบริการแบบ AliPay ในภูมิภาคนี้ แต่ท้ายที่สุดอย่างที่กูรูหลายท่านได้บอกไว้ในงาน Priceza Awards 2016 ในเรื่องของ e-payment นั้นเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยซัพพอร์ตอีคอมเมิร์ซในอนาคต แน่นอนว่ายิ่งระบบการชำระเงินพัฒนาขึ้นก็สามารถปลดล็อคอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคให้ไปได้ไกลอีกขั้นเลยครับ

Ant Financial บริษัทแม่ของ Alipay

  • DFTZ มาเลเซีย ดันอีคอมเมิร์ซฮับอาเซียน

เป็นอีกประเด็นที่เรียกเสียงฮือฮาได้มากทีเดียวครับ เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Alibaba ได้ร่วมมือกับรัฐบาลมาเลเซียในการจัดตั้ง DFTZ (Digital Free Trade Zone) หรือเขตการค้าเสรีดิจิตอล ศูนย์บริการขนส่ง และคลังสินค้าในมาเลเซีย ซึ่งศูนย์นี้จะตั้งอยู่บริเวณสนามบินกัวลาลัมเปอร์ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ การเจรจาในครั้งนี้ถือว่าดำเนินการได้รวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้นครับกับงบก้อนแรก และการเปิดตัวความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ ผมมองแบบนี้นะครับ มาเลเซียเองก็เป็นอีกประเทศที่มีศักยภาพในอาเซียน มีความสะดวกด้านระบบขนส่ง ระบบการชำระเงิน มีความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งนี้ การจัดตั้ง DFTZ ก็ยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้น คงต้องดูๆกันไปครับว่าจะเป็นอย่างไร

  • ลงทุนร่วม E-Commerce Park

ต่อเนื่องจากข่าว DFTZ ที่มาเลเซีย ประเทศไทยเองก็เริ่มขยับตัวในด้านอีคอมเมิร์ซกันบ้าง โดยมี Lazada ร่วมลงทุนตั้งเมืองอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ หรือ 5th Generation E-Commerce Park ในประเทศไทยพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ร่วมกับหลายบริษัทที่ให้ความเชื่อมั่นและพร้อมร่วมมือลงทุน ตอนนี้ยังไม่มีความแน่นอนในรายละเอียดออกมา ก็คงต้องดูกันไปครับว่าการที่เค้าเข้ามา จะทำให้ประเทศเราได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์มากกว่ากัน

ฝากให้คิดสำหรับผู้ประกอบการฯ

  • ตื่นตัว แต่ไม่ตื่นตูม

เมื่อมีผู้เล่นรายใหญ่ก้าวเข้ามาก็ทำให้ผู้ประกอบการต่างหวั่นวิตกนะครับ แต่สำหรับผมกลับมองเป็นข้อดีในการที่เราจะได้ยกระดับหรือพัฒนาธุรกิจของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ครับ

  • คิดให้ใหญ่ แล้วไปให้ถึง

เมื่อ “เขา” มาบุกตลาดเราได้ แล้วทำไมเราจะทำบ้างไม่ได้ล่ะครับ ขอให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย กล้าที่จะคิดการใหญ่ มองไปยังเรื่อง cross border เพื่อดึงเงินเข้าประเทศกันบ้าง ลองเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านเราก่อนก็ได้นะครับ

การที่ Alibaba เข้ามาอาเซียน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การมาในครั้งนี้ก็ยิ่งตอกย้ำอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งว่า อีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังไงก็โตขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ “เขา” มาแน่ แล้วคุณล่ะพร้อมหรือยังครับ

 

บทความนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s