ในทริปเซินเจิ้น ผมได้แวะไปเดินศึกษาร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตของ Alibaba ที่ชื่อว่า 'เหอหม่า' Hema Supermarket หลายๆคนน่าจะเคยได้ยิน Hema Supermarket มาบ้างแล้วนะครับ เพราะว่าสื่อไทยก็ทำข่าวกันหลายเจ้าแล้ว ไม่ถึงกับเป็นเรื่องใหม่เอี่ยม ครั้งนี้ผมจะมาแชร์สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการได้เข้าไปศึกษา Hema ด้วยตัวเอง 1) ยกระดับความสดไปอีกระดับ สดกว่านี้ก็จับเองในทะเลแล้ว โซนที่เป็นไฮไลท์เลยสำหรับผมคือโซนอาหารทะเลสดได้ สดแบบที่กำลังว่ายน้ำกันอยู่เลยทีเดียว ลูกค้าเลือกช้อนเอาเลยครับว่าอยากกินปูตัวไหน กุ้ง หอย ปู ปลา มีให้เลือกสดๆแบบว่ายน้ำอยู่เลย ผมยังไม่เห็นสดระดับนี้ในไทยเลย แม้แต่ในตลาดสด ก็ยังไม่สดขนาดว่ายน้ำแบบนี้ น่าสนใจว่า Hema บริหารงานดูแลของสดว่ายน้ำแบบนี้ยังไงให้มีประสิทธิภาพ และทำไมในไทยยังไม่มีคนทำแบบนี้ได้ หรืออาจจะเพราะคนไทยไม่ได้ต้องการสดขนาดนี้ก็เป็นได้ โดยรวมโซนอาหารสด ทำให้ประสบการณ์การช้อปที่ตื่นเต้นดี เดินแล้วหิว อยากเป็นเลือกทาน อ้อ แล้วเค้ามีโซนที่ปรุงสดๆให้เลือกทานได้เลยด้วย 2) รวมพลัง หน้าร้าน + ศูนย์กระจายสินค้า จุดจุดขายของ Hema ที่สำคัญเลย คือกดสั่งออนไลน์แล้วรอรับได้ภายใน 30 นาที สำหรับคนที่อยู่ในรัศมีของสาขา 3 … Continue reading 5 เรื่อง ที่ผมได้เรียนรู้จาก Hema Supermarket ของ Alibaba
Tag: Alibaba
กรณีศึกษา: เราเรียนรู้อะไรจากอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ฝั่ง US และเอเซีย
นับตั้งแต่ปี 1991 ที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเริ่มแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆในฝั่งประเทศตะวันตก จนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่อีคอมเมิร์ซเริ่มขยับเข้ามาได้รับความนิยมในฝั่งเอเชียมากขึ้น เราได้เห็นถึงวิวัฒนาการของตลาดอีคอมเมิร์ซในสองซีกโลก ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ในการปรับตัว และข้อผิดพลาดซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถเรียนรู้ และนำมาปรับใช้ต่อไป โดยผมขอยกตัวอย่างด้วยอีคอมเมิร์ซอันดับ 1 จากฝั่ง US อย่าง Amazon และ Alibaba อันดับ 1 จากฝั่งเอเชียมาเป็นกรณีศึกษาดังนี้ครับ ตลาดที่ไร้ขอบเขต ถึงแม้ว่า รายได้ของ Amazon และ Alibaba ต่างก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือมีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จะเห็นว่าการเติบโตของ Alibaba นั้นอยู่ในอัตราที่สูงกว่า ส่วนรายได้ของ Amazon มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างคงที่มาได้ระยะหนึ่งแล้ว ด้วยเหตุผลนี้เองจึงส่งผลให้ Alibaba ซึ่งเป็นอีคอมเมิร์ซน้องใหม่เริ่มทำรายได้สูงกว่า Amazon มาตั้งแต่ปี 2015 โดยหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตได้ ไม่เพียงแค่ ความแข็งแกร่งของตัวธุรกิจเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับขนาดของตลาดอีกด้วย ก่อนหน้านี้ Amazon เน้นให้บริการกับลูกค้าในกลุ่ม North America มากกว่าที่จะสนใจผู้บริโภคในซีกโลกอื่นๆ รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากฝั่งอเมริกา และแคนาดาเท่านั้น แต่ด้วยจำนวนของผู้บริโภคบนอีคอมเมิร์ซของตลาด US ที่เริ่มจะคงที่ … Continue reading กรณีศึกษา: เราเรียนรู้อะไรจากอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ฝั่ง US และเอเซีย
ชนะเกม ด้วยเป้าหมายระยะยาว
ข่าวคราวอีคอมเมิร์ซเมื่อไม่นานมานี้ ว่าด้วยเรื่อง Lazada ที่ตัดสินใจไม่เก็บค่าคอมฯสำหรับผู้ขายในทุกประเภทสินค้า จากเดิมที่ต้องถูกหักค่าคอมมิชชัน 4-12 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับหมวดหมู่การขาย ซึ่งเป็นการดีสำหรับผู้ขายที่สามารถมีช่องทางขายฟรี และช่วยลดต้นทุนในการขายอีกต่างหาก เท้าความถึง Lazada แรกเริ่มเดิมทีมี Rocket Internet เป็น Venture Builder หรือบริษัทปั้น Startup เอาไว้ขาย และเป็นบริษัทที่ก่อตั้ง Lazada นั่นเอง Lazada เปิดในไทยและในหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในปี 2012 เดิมทีผมเคยอ่าน Investment Deck ของเค้า แผนของเค้าคือต้องการจะทำให้ Lazada มีกำไร หรือเกิด Breakeven ภายในประมาณ 5 ปี คือภายในปี 2017 อันนี้คือสิ่งที่เค้าบอกนักลงทุนในช่วงแรกๆ ช่วงแรกที่เปิดตัวลงทุนสูงมากทั้งลดแลกแจกแถม ผลปรากฎว่าพอดำเนินธุรกิจไปธุรกิจก็เติบโตได้ดี แต่โอกาสทำกำไรนั้นยังริบหรี่ และดูท่าทียังไม่สามารถทำกำไรได้ตามแผน นักลงทุนเริ่มกังวลและชะลอการปั๊มเงินเข้าไปใน Lazada เพิ่มในช่วงนั้น และธุรกิจเริ่มมีความเสี่ยง ในที่สุด Rocket Internet จึงขาย Lazada … Continue reading ชนะเกม ด้วยเป้าหมายระยะยาว
จับตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียน และการมาของอาลีบาบาในไทย
สถานการณ์อีคอมเมิร์ซในอาเซียนโดยรวม ขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียนนับว่ามีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ ด้วยอัตราการใช้งานอินเตอร์เนตของประชากรที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งราคาสมาร์ทโฟนที่ถูกลง และด้วยกำลังซื้อจากคนในภูมิภาค จากการคาดการณ์แนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซในกลุ่มประเทศอาเซียนของ HKTDC เมื่อเดือนธันวาคม 2017 กล่าวว่า จากจำนวนประชากรประมาณ 640 ล้านคนในอาเซียน มีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตถึง 483 ล้านคนภายในปี 2020 และขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียนจะเติบโตจาก 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 พุ่งไปสู่ 88 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 ที่มา: HKTDC ด้วยอัตราการเติบโตที่น่าสนใจเช่นนี้ เราจึงได้ยินข่าวการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ที่พยายามขยายตลาดเข้าสู่ภูมิภาคไม่ว่าจะเป็น การประกาศความร่วมมือกันระหว่าง JD.com กับเซ็นทรัลกรุ๊ป Tencent ที่ลงทุนใน SEA การลงทุนของอาลีบาบาใน Tokopedia ของอินโดนีเซีย หรือ Amazon Prime ที่ launch ในสิงคโปร์เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดที่ Alibaba เข้ามาทำ MOU กับรัฐบาลไทย เมื่อกลางเดือนเมษายน ทั้งนี้ การที่อาลีบาบาตัดสินใจลงทุนในประเทศไทย ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากผลการวิจัย ที่พบว่า … Continue reading จับตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียน และการมาของอาลีบาบาในไทย
ย้อนดูอีคอมเมิร์ซเอเซีย เพื่อก้าวต่อไปของอีคอมเมิร์ซไทย
หลายครั้งที่ผมมักพูดถึงความเคลื่อนไหวของอีคอมเมิร์ซฝั่งอเมริกา อย่าง Amazon หรือ Walmart แต่ครั้งนี้ขอลงมาที่ฝั่งเอเซียของเราบ้างครับ ปีที่แล้วอีคอมเมิร์ซในเอเซียค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยสองผู้เล่นหลักอย่าง Alibaba และ JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากจีน ซึ่งในปีที่ผ่านมามีความพยายามในการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซระดับนานาชาติไปยังหลายประเทศ โดยทั้งสองได้ลงแรงอะไรกันไปบ้าง ผมคัดเอาไฮไลท์มาให้ติดตามกันครับ Alibaba ดูเหมือนว่าปีที่แล้ว Alibaba จะเน้นหนักไปกับการทำธุรกิจข้ามพรมแดน (Cross-border) โดยมุ่งเข้าสู่ตลาดเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีการลงทุนระดับพันล้านเหรียญฯไปที่ Lazada ซึ่งก่อตั้งโดย Rocket Internet ประเทศเยอรมนี ในรูปแบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบเดียวกับ Amazon และ Alibaba เหตุผลในการลงทุนครั้งนี้ก็เพื่อหาตลาดใหม่อย่างเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่คาดว่าจะเติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วยฐานลูกค้าเดิมของ Lazada ทั้ง 6 ประเทศ นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของเขตการค้าเสรีดิจิทัล หรือ Digital Free Trade Zone ที่ได้ความร่วมมือจากมาเลเซีย เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้า และส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นจุดเชื่อมต่อการซื้อขายสินค้าทั่วโลก แผนก็คือมีการสร้างโกดังสินค้าและจะนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาส่งเสริมในการดำเนินธุรกิจ ไม่เพียงแต่ธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้นที่ Alibaba ให้ความสนใจ อินเดียก็เป็นอีกประเทศที่ได้รับเงินลงทุนอย่าง Paytm บริษัทอีคอมเมิร์ซและระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของอินเดียโดยถือหุ้น 62% … Continue reading ย้อนดูอีคอมเมิร์ซเอเซีย เพื่อก้าวต่อไปของอีคอมเมิร์ซไทย
อีคอมเมิร์ซปรับ โลจิสติกส์เปลี่ยน สองแรงผลักเสริมพลังธุรกิจ
โลจิสติกส์ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจซึ่งมาแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวอย่างมากของตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคมาใช้บริการ ซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น จึงนำไปสู่ความต้องการในการจัดส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ จากการรายงานของ World Bank, Boeing, และ Golden Valley Co. พบว่า มูลค่าตลาดการขนส่งสินค้าทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมๆแล้วมีมูลค่าถึง 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว และแน่นอนว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก ตามความนิยมของการใช้บริการอีคอมเมิร์ซทั่วโลก ที่มา: BI Intelligence ความเคลื่อนไหวอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ที่ผ่านมาอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ๆอย่าง Amazon, Alibaba, และ Walmart ต่างก็ให้ความสนใจ Last-Mile Delivery หรือการจัดส่งไม้สุดท้ายก่อนถึงมือลูกค้า แต่ในระยะหลัง บริษัทเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการในส่วนอื่นๆของโลจิสติกส์มากขึ้น ดังตัวอย่างที่เราเห็นจากหน้าข่าว เช่น Alibaba ประกาศลงทุน 100 พันล้านหยวน สำหรับการลงทุนตลอดห้าปีจากนี้ไป เพื่อสร้าง Global Logistics Network รองรับการค้าของ Alibaba ในต่างประเทศ โดยเป็นการลงทุน 5.3 พันล้านหยวนใน … Continue reading อีคอมเมิร์ซปรับ โลจิสติกส์เปลี่ยน สองแรงผลักเสริมพลังธุรกิจ
เจาะความสำเร็จ “ซิงเกิ้ล เดย์” ของ อาลีบาบา
ผ่านพ้นไปแล้วกับวันคนโสด (Singles’ day) กับยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวงการอีคอมเมิร์ซด้วยมูลค่า 168.2 พันล้านหยวนของ Alibaba หรือคิดเป็น 25.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับวันเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ที่ทำยอดขายไว้ที่ 120.7 พันล้านหยวน ในบทความนี้ ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจ รวมถึงกลยุทธ์วันคนโสดของ Alibaba มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อที่ผู้ประกอบการไทยจะได้นำไปประยุกต์ใช้กับกิจการของตัวเองได้ไม่มากก็น้อยนะครับ ยอดขายถล่มทลาย จากการเปิดเผยตัวเลขของ Alibaba เมื่อวันที่ 11/11 ที่ผ่านมา Alibaba มียอดขายแตะ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ 30 นาทีแรกของวัน โดยเมื่อผ่านไป 12 ชั่วโมง ก็สามารถทำยอดขายแซงหน้าสถิติของปีก่อนที่ 18 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเรียบร้อย ทิ้งห่างคู่แข่งเบอร์สองอย่าง JD.com ที่มียอดขายมูลค่า 127.1 พันล้านหยวน หรือ 19.14 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในวันเดียวกัน หรือแม้จะเปรียบเทียบกับวัน Black Friday จากฝั่งอเมริกาที่มียอดขายจากร้านค้าปลีกมูลค่ารวม … Continue reading เจาะความสำเร็จ “ซิงเกิ้ล เดย์” ของ อาลีบาบา
สรุปเส้นทางความสำเร็จ ในวันที่ Alibaba ครองตลาดอีคอมเมิร์ซ
Jack Ma ก่อตั้ง Alibaba ขึ้นในปี 1999 ด้วยพนักงาน 18 คน ในอพาร์ตเมนท์ที่หางโจว เป็นธุรกิจเพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิตในจีนกับลูกค้าต่างชาติ ตลอด 20 ปีนับตั้งแต่นั้นมา Alibaba ต้องก้าวผ่านช่วงเวลาที่ดีและร้าย ทั้งช่วงขยายบริษัท, ทั้งการปลดพนักงานในยุค dot-com bubble ทั้งการถูกปฏิเสธจากการขอเงินลงทุน ร่วม 30 ครั้งก่อนที่สุดท้ายจะลงเอยกับ SoftBank Holding Company จากญี่ปุ่น จนมาถึงวันนี้ที่ก้าวสู่การเป็นผู้นำในอาณาจักรอีคอมเมิร์ซ โดยล่าสุด (10 ตุลาคม 2560) มูลค่าตลาดของ Alibaba อยู่ที่ 4.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นมูลค่าตลาดสูงสุดในโลกขึ้นนำ Amazon หมายเลขหนึ่งจากอเมริกา ไปเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่า ความสำเร็จของ Alibaba ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือ The Alibaba Way โดย Dr. Ying Lowrey และขอสรุปเทคนิคความสำเร็จของ … Continue reading สรุปเส้นทางความสำเร็จ ในวันที่ Alibaba ครองตลาดอีคอมเมิร์ซ
มังกรผงาดขยายตลาดอีคอมเมิร์ซเอเซีย ในวันที่ JD.com เข้าไทย
ไม่นานมานี้ ข่าวใหญ่ในวงการธุรกิจอีกข่าวหนึ่งในประเทศไทยที่พูดถึงกันหนาหูก็คือ ข่าวการเข้ามาของ JD.com และ JD Finance ซึ่งเข้ามาลงทุนกับ เซ็นทรัล กรุ๊ป หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีกไทย ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับ Alibaba กันอยู่พอสมควรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริการจาก Aliexpress Taobao หรือ Tmall ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้ลงทุนกับ Lazada ไป โดย Alibaba และ JD.com นั้น นับว่าเป็นเบอร์หนึ่ง และเบอร์สองของวงการอีคอมเมิร์ซจีน เราลองมาดูกันครับว่าการเข้ามาของสองยักษ์ใหญ่จากจีนนั้นมีส่วนเหมือน หรือแตกต่างกันในด้านใดบ้าง ที่มาที่ไป Alibaba ภายใต้การนำของ Jack Ma จากการทำธุรกิจ B2B ในปี 1999 เพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิตในจีนกับคู่ค้าในต่างประเทศ จนพัฒนาเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนไม่ว่าจะเป็น B2B B2C หรือ C2C ด้วยจำนวน Active mobile user 529 ล้านคนต่อเดือน JD.com หรือในชื่อจีนว่า Jingdong … Continue reading มังกรผงาดขยายตลาดอีคอมเมิร์ซเอเซีย ในวันที่ JD.com เข้าไทย
อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน วิกฤติ โอกาส และความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรู้
ไม่น่าแปลกใจนัก ที่ Cross-border eCommerce หรือ “การซื้อการขายสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน” กำลังดึงดูดสายตานักช้อปฯ ทั่วโลก เนื่องจากจำนวนสินค้าที่มีให้เลือกมากมายมหาศาล อีกทั้งนักช้อปฯ ยังสามารถเปรียบเทียบราคา และหาสินค้าราคาถูกได้อย่างไม่ยากเย็นเลยครับ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนนั้น กลายเป็นที่นิยมสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายไปพร้อมๆกัน เราลองมาดูตัวเลขที่ช่วยยืนยันความร้อนแรงของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนกันนะครับ Ipsos และ Paypal ได้จับอันดับสุดยอดสินค้าขายดี ที่มีการค้าข้ามพรมแดนมากที่สุดประจำปี 2016 นั่นก็คือ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 46% ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ 29% ประเทศที่เป็นปลายทางอันดับหนึ่งในการค้าข้ามพรมแดน จากการจัดอันดับของ Ipsos และ Paypal ได้แก่ประเทศจีน ในสัดส่วน 21% ตามหลังมาด้วยสหรัฐอเมริกาที่ 17% และสหราชอาณาจักรที่ 13% Forrester Research ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2021 ยอดการซื้อขายจาก Cross-border eCommerce ในระดับ B2C (Business-to-Consumer) จะมีแนวโน้มการเติบโตอยู่ที่ 424,000 ล้านเหรียญ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง … Continue reading อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน วิกฤติ โอกาส และความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรู้