“Ecommerce” สำคัญกับเศรษฐกิจและประเทศไทยอย่างไร?

ต่อยอดจากบทความเดิมที่ผมเขียนไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้วในเรื่อง “ดิจิตอลอีโคโนมี” สำคัญกับประเทศไทยอย่างไร? ครั้งนี้ผมอยากลงลึกในเรื่องของ “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” หรือ Ecommerce ว่ามันสำคัญกับระบบเศรษฐิกิจอย่างไร? ทำไมเราถึงเห็นหลายๆหน่วยงานของรัฐบาลสนับสนุนให้คนมาทำมาค้าขายออนไลน์มากขึ้น? แล้วมันมีผลดีกับภาพรวมของประเทศอย่างไร? เราอาจจะมีความรู้สึกว่า Ecommerce ก็น่าจะดีกับเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีการศึกษาและวัดผลจริงๆจังๆบ้างไหมเพื่อตอบคำถามเหล่านี้?? ในบทความนี้ ผมทำการศึกษาหาข้อมูลมาจากหลายแหล่งเพื่อตอบคำถามนี้ครับ ปะ ไปดูกัน…

ขอนิยามคำว่า Ecommerce ก่อน ในที่นี้หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการพาณิชย์และการค้าขาย ไม่จำเป็นต้องเป็นการซื้อขายผ่านออนไลน์เพียวๆเท่านั้น

“Ecommerce” สำคัญกับเศรษฐกิจและประเทศไทยอย่างไร?

ในมุมมองผม Ecommerce มาช่วยทำให้ผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น หรือมาช่วยเพิ่ม Productivity นั่นเอง ยกตัวอย่าง ถ้าคุณขายของหน้าร้าน คุณอาจขายได้เฉพาะคนที่เดินผ่านไปผ่านมาหน้าร้าน อาจจะมีลูกค้าซักวันละ 100 ราย แต่ลองนึกภาพว่าคุณมีเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ มีคนเป็นล้านคนทั่วโลกที่เข้ามาหาคุณได้และมาซื้อของจากคุณได้ คุณอาจขายได้วันนึง 1,000 รายการ นั่นคือคุณมี Productivity เพิ่มขึ้น 10 เท่า!!

สิ่งที่ทำให้เกิดการค้าออนไลน์ได้ มาจากเทคโนโลยี นวัตกรรม และการมาของอินเทอร์เน็ต

เทคโนโลยีหลายๆอย่างที่ทำให้เราสามารถทำมาค้าขายออนไลน์ได้ เช่น

  • Email
  • World Wide Web หรือการมี Website
  • Cloud หรือระบบที่ช่วยให้เราสามารถวางเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องเข้าไปบริหารจัดการ Server เอง
  • Online Advertising ที่ช่วยทำให้ผู้ประกอบการสามารถลงโฆษณาไปหากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าสื่อเดิม
  • ERP หรือระบบบริหารจัดการหน้าบ้านและหลังบ้าน ช่วยทำให้กระบวนการสั่งซื้อสินค้าไล่ไปจนถึงการจัดส่งไปถึงมือลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • E-Logistics หรือก็คือระบบการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการเอา IT มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการติดตามพัสดุ และแจ้งสถานะแบบทันท่วงที (Real Time)

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่พูดถึงเหล่านี้เป็นตัวช่วยผลักดันและส่งเสริมให้ Ecommerce เกิดขึ้นได้ และมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างมาก!!

แต่คำถามคือ ช่วยเพิ่มได้แค่ไหน แล้วมันสำคัญกับระบบเศรษฐกิจและประเทศไทยอย่างไร? เรามาดูข้อมูลสนับสนุนที่ผมหามาดูครับ

1) ธุรกิจ SME ที่เอาอินเทอร์เน็ตและเว็บเทคโนโลยีมาใช้อย่างจริงจัง มีการเติบโตและส่งออกได้มากกว่า 2 เท่าตัว

A13DA4B1-FE8A-4A69-8754-0E25C804138E

  • ข้อมูลอ้างอิงจากงานวิจัยของ McKinsey เรื่อง Internet matters: The Net’s sweeping impact on growth, jobs, and prosperity
  • จากข้อมูล ธุรกิจ SME ที่มีอัตราการใช้เว็บเทคโนโลยีน้อย (Low) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่ 6.2% ต่อไป ในขณะที่ธุรกิจที่ใช้เว็บเทคโนโลยีสูง (High) มีตัวเลขเติบโตที่ 13% ต่อไป นั่นคือต่างกัน 2 เท่า! (X2.1)
  • และในส่วนสัดส่วนรายได้จากการส่งออกนั้น ธุรกิจ SME ที่มีอัตราการใช้เว็บเทคโนโลยีน้อย (Low) มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกที่ 2.5% ในขณะที่ธุรกิจที่ใช้เว็บเทคโนโลยีสูง (High) มีตัวเลขสัดส่วนรายได้จากการส่งออกที่ 5.3% นั่นคือต่างกัน 2 เท่า! (X2.1) เช่นกัน

9B9BB042-2789-4400-A30E-16B529500299

  • ข้อมูลอ้างอิงจากรายงาน Global Startup Ecosystem Report 2017 โดย Startup Genome
  • รายงานฉบับนี้มีการเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของมูลค่าธุรกิจ (Market Cap) ของบริษัท Tech กับบริษัท Non-Tech พบว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยของบริษัท Tech อยู่ที่ 20% ในขณะที่บริษัท Non-Tech อยู่ที่ 8% นั่นคือต่างกัน 2.5 เท่า!
  • และถ้าเทียบมูลค่าธุรกิจต่อจำนวนพนักงาน 1 คน แล้ว บริษัท Tech มีมูลค่าธุรกิจต่อพนักงาน เท่ากับ US$150 ต่างกับบริษัท Non-Tech ที่มีมูลค่าเท่ากับ US$60 นั่นคือต่างกัน 2.5 เท่าเช่นกัน!

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจาก Kleiner Perkins Caufield Byers (VC เจ้าดังระดับโลกเจ้านึง) เผยข้อมูลว่ามีธุรกิจค้าปลีกออนไลน์จำนวนมากที่สามารถทำยอดขายได้ถึง US$100M ภายในระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี ในขณะเดียวกัน Nike ใช้เวลาถึง 14 ปี ถึงจะทำยอดขายได้ US$100M นั่นแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจนเลยว่าธุรกิจในยุค Internet นี้มีประสิทธิภาพมากวก่าเดิมมากมายนัก!!

โดยสรุปจากข้อมูลจากทั้ง 3 แหล่ง ผมได้ข้อสรุปดังนี้

Ecommerce มาช่วยให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่าตัว และช่วยเพิ่มโอกาสให้ค้าขายส่งออกนอกประเทศได้มากกว่าเดิม 2 เท่าตัว นั่นคือการที่ทำให้เศรษฐกิจการค้าของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ 2 เท่า จากเดิมเลยทีเดียว

2) 75% ของมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจาก Internet เกิดมาจากธุรกิจดั้งเดิม (ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยีเพียวๆ) ที่นำ Internet ไปต่อยอดใช้งาน

8D12CB3F-9F39-4FC8-A516-FE5B4C773DE0

  • ข้อมูลจาก McKinsey ฉบับเดียวกัน พูดถึงมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจจากการนำเอาเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต มาใช้ มีจำนวน 75.4% เกิดมาจากธุรกิจดั้งเดิม (บริษัทที่สามารถดำเนินธุรกิจไปได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต)
  • นั่นหมายความว่า มูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่แล้ว มาจากการที่ธุรกิจดั้งเดิมปรับตัวและเอาเทคโนโลยีมาใช้ ไม่ใช่มาจากบริษัทเทคโนโลยีเพียวๆ

ผมตีความแบบนี้ครับ… เศรษฐกิจมีศักยภาพที่เติบโตสูงมาก ไม่ใช่เฉพาะการเน้นสร้างธุรกิจที่เน้นใช้เทคโนโลยีเพียวๆ แต่กลับเป็นการเน้นให้ธุรกิจดั้งเดิมนั่นแหละ ให้มาใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ นั่นคือควรส่งเสริมให้คนเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้าขายให้ดีขึ้น หรือก็คือในรูปแบบของ Ecommerce นั่นเอง

3) การมาของ Internet และเทคโนโลยีช่วยสร้างงานเพิ่ม 2.6 อัตรา ต่อการลดงานไป 1 อัตรา (2.6 jobs created for 1 job lost)

  • การมาของ Internet ทำให้ภาคธุรกิจลดต้นทุนได้จากการเลิกจ้างงานคนที่ไม่จำเป็นแล้ว เพราะทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดงานเดิมที่เดิมต้องใช้คน แต่ในขณะเดียวกัน Internet ก็สามารถสร้างงานใหม่ทดแทน
  • จากการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตช่วยสร้างงานเพิ่ม 1.2ล้านอัตรา ในขณะที่ทำลายงานไป 500,000 อัตรา หรือก็คือสร้างงาน 2.4 อัตรา ต่อการลดงาน 1 อัตรา
  • ในขณะที่ McKinsey ทำการศึกษาบริษัท SME จำนวน 4,800 บริษัท พบว่า Internet ช่ววยสร้างงาน 2.6 อัตรา ต่อการลดงาน 1 อัตรา (2.6 jobs created for 1 job lost)

นั่นคือ เทคโนโลยีนั้นมาช่วยให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นอีก 160% เลยทีเดียว และแน่นอน ยิ่งมีการจ้างงานมากขึ้น ก็แปลว่ามีโอกาสการว่างงานน้อยลง และเศรษฐกิจเติบโตไปได้มากขึ้น

นอกจากนี้ อ้างถึงการศึกษาของ Ali Research ในเรื่อง Inclusive Growth and E-commerce: China’s Experience, April 2017 มีข้อมูลหลายอย่างที่สนับสนุนว่า Ecommerce ช่วยสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานจำนวนมากดังนี้

  • การเป็นผู้ประกอบการออนไลน์นั้นง่ายมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี ต้นทุนในการสร้างธุรกิจออนไลน์ต่ำลงมาก มีอัตราการเติบโตสูง ธุรกิจ Ecommerce มีโอกาสที่จะสร้างงานให้เกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านบนและล่างของวงจรธุรกิจ
  • ร้านค้าออนไลน์ใน Taobao 1 ร้านค้า จะก่อให้เกิดการสร้างงานโดยตรงขึ้น 2.8 อัตรา
  • ในเดือน ธ.ค. 59 ในเมือง Suining, Jiangsu ในประเทศจีน เมืองนี้มี Taobao Villages (หน่วนธุรกิจของ Alibaba ที่มีหน้าที่ช่วยสอนและส่งเสริมให้ผู้คนมาเปิดร้านค้าออนไลน์ใน Taobao) จำนวน 40 หน่วย ช่วยสร้างให้เกิดร้านค้าออนไลน์ขึ้นใหม่ 36,900 ร้านค้า ช่วยก่อให้เกิดการสร้างงาน 200,000 อัตรา

และเพิ่มเติม ยังมีการศึกษา Study on Employment Absorption and Driving Ability of Alibaba Retail E-commerce Platform by School of Labor and Human Resources of Renmin University in September 2016 พบว่า…

  • Alibaba retail ecosystem (Taobao, Tmall และ Juhuasuan และอื่นๆ) ช่วยสร้างโอกาสงานขึ้น 30.83 ล้านอัตรา ในประเทศจีน ซึ่งแบ่งเป็น 11.76 ล้านอัตรา ถูกสร้างโดยตรงจากระบบการค้าปลีกออนไลน์ และ 19.07 ล้านอัตรา ถูกสร้างโดยอ้อมจากงานที่เกี่ยวข้องกัน
  • งาน 1 อัตราใน Alibaba retail ecosystem ช่วยก่อให้เกิดการสร้างงานทางอ้อมขึ้น 1.62 อัตรา

2017-05-20 20-02-06

4) Ecommerce ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท และช่วยลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันของรายได้คนเมืองและคนในชนบท

อ้างถึงการศึกษาของ Ali Research ในเรื่อง Inclusive Growth and E-commerce: China’s Experience, April 2017 มีข้อมูลหลายอย่างที่สนับสนุนว่า Ecommerce ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไม่ใช่เฉพาะในเมืองหลวง หรือหัวเมืองใหญ่ แต่ช่วยกระจายรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจในชทบทและชานเมืองอีกด้วย ช่วยให้ประเทศพัฒนาไปอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นแทนที่รัฐบาลจะนำเงินไปช่วยเหลือคนยากจนในชนบท ก็สามารถใช้ Ecommerce ช่วยสร้างงานให้คนในชุมชนมีรายได้ดีมากขึ้นได้ จากรายงาน มีข้อมูลสนับสนุนหลายตัวดังนี้

  • Ecommerce ช่วยให้คนในชนบทสามารถซื้อของได้ถูกลงกว่าเดิมประมาณ 20% เมือเทียบกับราคาปกติในพื้นที่ และช่วยให้คนในชุมชนเข้าถึงสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิมมากกว่าที่มีในร้านค้าในชุมชน
  • Ecommerce ช่วยสร้างงานในชนบททั้งทางตรงและทางอ้อม
  • Ecommerce ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุ สามารถทำงานที่บ้านได้ สร้างรายได้เพิ่ม หรือแม้กระทั่งคนพิการ ก็สามารถช่วยสร้างงานให้พวกเค้าได้ เช่น คนพิการหูหนวก ก็ยังสามารถทำงานเป็น Online Customer Service ได้
  • Ecommerce ช่วยดึงคนวัยหนุ่มสาวที่ไม่อยากเข้าเมืองไปหางาน ก็สามารถมาสร้างธุรกิจตนเองที่บ้านเกิด ทำงานออนไลน์จากในพื้นที่ได้ ทำให้เกิดการกระจายความเจริญได้ดีมากขึ้น

 

5) การมาของ Internet ช่วยทำให้ผู้บริโภคมีความมั่งคั่งมากขึ้นเป็นมูลค่าถึง 20 Euro Dollar ต่อเดือน/คน

6CDB235D-3A38-4BB3-BE1C-8448B614BC2C

  • ข้อมูลจาก McKinsey ฉบับเดียวกัน เล่าว่าการมาของ Internet ช่วยนำเสนอบริการฟรีมากมายหลายอย่างให้กับผู้บริโภค เช่น บริการ Email, Website ให้ข้อมูล, Social Network, Chat, Search, Online Reservation, Online Shopping
  • ด้วยสิ่งต่างๆเหล่านี้ ได้มอบมูลค่าให้กับผู้บริโภค รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวัดเป็นมูลค่าถึง 20 Euro Dollar ต่อเดือน/คน ในประเทษอังกฤษ (UK) และถ้านำเอามาคูณด้วยจำนวนประชากรแล้ว มูลค่าเพิ่มจะมากขึ้น 9 Billion Euro Dollar เลยทีเดียว ในประเทศอังกฤษ

ด้วยมูลค่าเพิ่มที่ผู้บริโภคได้รับ จะทำให้ผู้บริโภคมีเวลามากขึ้น ประหยัดเวลาในการทำงาน ในการช้อปปิ้ง ในการเดินทาง ในการศึกษา การทำงาน แปลว่าผู้บริโภคจะมีความมั่งคั่งมากขึ้น และสุดท้ายก็จะเกิดการใช้จ่ายกลับไปสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตไปได้มากขึ้น

บทสรุป

จากข้อมูลทั้ง 5 ข้อ ทำให้ได้ข้อสรุปต่อคำถาม “Ecommerce” สำคัญกับเศรษฐกิจและประเทศไทยอย่างไร? ว่า Ecommerce นั้นสำคัญทั้งการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการเติบโตให้กับภาคธุรกิจ 2 เท่า, ช่วยให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น 160%, ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงทั่วประเทศ , ช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่งคั่งมากขึ้น และแน่นอนทั้งหมดนี้จะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาไปได้มากขึ้นนั่นเอง

มีข้อมูลอีกตัว เป็นการศึกษาของ The Boston Consulting Group (BCG) ในเรื่อง The Connected World: The Digital Manifesto, How Companies and Countries Can Win in the Digital Economy ซึ่งได้ทำการวัดประสิทธิภาพของประเทศต่างๆในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เทียบกับ GDP per capita พบว่าทั้ง 2 ตัว มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนตามภาพ นั่นคือยิ่งประเทศไหนที่มี BCG e-Intensity score ดี ก็จะมีแนวโน้มตามรูปที่มี GDP per capita สูงไปด้วย

BCG e-Intensity score เป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่าประเทศนึงๆมีการพัฒนาในส่วนของ Internet & Digital ไปมากน้อยแค่ไหน, ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีแค่ไหน, มูลค่าการจับจ่ายผ่านออนไลน์ (online retail and online advertising) มีเยอะแค่ไหน

D6F246D2-EAE7-4781-A3E4-F8DB559E7EF6

สรุปของสรุป ประเทศไทยควรเดินหน้าสนับสนุนการนำเอาเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมาใช้พัฒนาการค้าพาณิชย์อย่างจริงจัง หรือเรียกได้อีกอย่างก็คือ Ecommerce นั่นเอง เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศให้เดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

สุดท้ายท้ายสุด ขอฝากกรอบความคิดจาก McKinsey ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีนั้น ควรประกอบไปด้วยการพัฒนา 4 ด้านหลักๆตามรูปด้านล่าง คือ Human capital, Financial capital, Infrastructure และ Business environment ครับ

1F65721B-D2D5-4B6D-AB12-971EA1D029B8

References:

  1. งานวิจัยของ McKinsey หัวเรื่อง Internet matters: The Net’s sweeping impact on growth, jobs, and prosperity http://www.mckinsey.com/insights/high_tech_telecoms_internet/internet_matters
  2. Global Startup Ecosystem Report 2017 โดย Startup Genome
  3. The Boston Consulting Group (BCG) ในเรื่อง The Connected World: The Digital Manifesto, How Companies and Countries Can Win in the Digital Economy https://www.bcg.com/documents/file96476.pdf
  4. Inclusive Growth and E-commerce: China’s Experience April 2017 โดย Ali Research

One thought on ““Ecommerce” สำคัญกับเศรษฐกิจและประเทศไทยอย่างไร?

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s