Presentation Zen ออกแบบการนำเสนออย่างเรียบง่ายและทรงพลัง

หนังสือ Presentation Zen “พรีเซนเทชั่นเซน” เขียนโดย การ์ เรย์โนลด์ส เล่มนี้ผมซื้อมานานเป็นปีได้ละ ผมจำได้ว่าซื้อมาช่วงที่ Steve Jobs เพิ่งเสียชีวิตลงไป ช่วงนั้นผมกำลังสนใจแนวคิดของ Zen ที่ Steve Jobs ใช้เป็นหลักในการนำเสนอและการออกแบบ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังร่วมแปลโดยอาจารย์ที่ผมเคารพ อาจารย์ธงชัยโรจน์กังสดาล ที่ผมได้เรียนวิชา Creative Thinking และ OS กับท่านตอนป.ตรี ผมทิ้งหนังสือไว้ยาวมากเลยเล่มนี้ไม่ได้อ่านซักทีถึงคราวมาจัดซะหน่อยช่วงหยุดยาวนี้ ลองมาดูไอเดียของ Presentation Zen ที่ถือเป็นหัวใจหลักในการนำเสนอของ Steve Jobs กันครับ

 

presentation-zen-cover-sm

คุณเคยเจอพาวเวอร์พอยด์มรณะมั้ยครับ? หน้าตาคือมันจะเป็น Slides ที่เต็มไปด้วยข้อความเต็มไปหมด มี Bullet Points เต็มหน้า ข้อความต่างๆใน Slides ก็คือสิ่งเดียวกับที่ผู้บรรยายกำลังเล่าอยู่จนเราอดคิดไม่ได้ว่าแล้วจะต้องมีคนบรรยายไปทำไม?? ทำไมไม่ส่ง Slides มาให้อ่านให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย เมื่อผู้ฟังต้องอ่านและฟังไปพร้อมกัน ยิ่งจะทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ยากขึ้น แนวทางการนำเสนอที่น่าเบื่อแบบนี้นี่เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้การ์เขียนหนังสือเล่มนี้

แนวคิดในการนำเสนอ

เซธ โกดิน (Seth Godin) ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและผู้บรรยายที่มีความสามารถดีกล่าวไว้ว่า “การนำเสนอคือการส่งผ่านอารมณ์ความรู้สึก” การสื่อสารคือการทำให้ผู้อื่นได้เห็นด้วยมุมมองของคุณเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่าทำไมคุณจึงตื่นเต้น ถ้าสิ่งที่คุณต้องการคือส่งไฟล์นำเสนอที่เต็มไปด้วยตัวเลขแล้วล่ะก็ ขอให้คุณยกเลิกการประชุมแล้วส่งรายงานให้อ่านแทน

สมองคนเรามีสองซีก ซีกขวาทำงานเกี่ยวกับความรู้สึก ซีกซ้ายทำงานด้านตรรกะและข้อมูลการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ผู้ฟังจะใช้สมองซีกขวาในการตัดสินวิธีการที่คุณพูด การแต่งกายและภาษากาย คุณทำให้กระบวนการสื่อสารไร้ประสิทธิภาพได้ด้วยการยัดข้อมูลใส่เข้าไปเยอะๆตัวเลขยิบยับที่ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับใจความสำคัญของการนำเสนอ คุณไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสารได้เลยหากขาดอารมณ์ความรู้สึก การสื่อสารคือการส่งผ่านอารมณ์ความรู้สึ ถ้าคุณเชื่อมั่นในไอเดียของคุณ จงขายมัน!! แสดงออกอย่างเชื่อมั่นเท่าที่คุณทำได้

วิธีการปรับปรุงการนำเสนอให้ดีขึ้นโดยทันที โดย Seth Godin

  1. ออกแบบสไลด์ให้เน้น/สนับสนุนข้อความที่คุณนำเสนอ ไม่ใช่เขียนข้อความซ้ำกับที่คุณพูด
  2. อย่าใช้ภาพด้อยคุณภาพ ให้ใช้รูปคุณภาพสูง และภาพที่ส่งเสริมให้เกิดอารม์ความรู้สึก ถ้าคุณจะนำเสนอเรื่องข้อเสียของยาเสพย์ติด แนะนำให้อ่านตัวเลขสถิติและโชว์ภาพอาการลงแดงของคนติดยา คนครอบครัวแตกแยก
  3. อย่าใช้เทคนิคการเปลี่ยนภาพแบบจางหาย ทำให้เรียบง่ายเข้าไว้
  4. ทำเอกสารอ่านเพิ่มเติมให้ผู้ฟังถือติดกลับไป การนำเสนอคือการขายด้วยอารมณ์ เอกสารแจกจะช่วยให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อมั่นในการคิดแบบตรรกะ ช่วยให้ผู้ฟังยอมรับความคิดเห็นซึ่งคุณแสดงออกโดยการใช้อารมณ์ อย่าแจกเอกสารที่เป็นภาพสไลด์ที่ฉายขึ้นจอ เพราะภาพประกอบเหล่านั้นไร้ความหมายเมื่อปราศจากคุณซึ่งเป็นผู้บรรยาย

แนวคิดที่สำคัญอีกสองอย่างในการนำเสนอคือ

  1. การวางแผนโดยปราศจากคอมพิวเตอร์ หรือการวางแบบแบบอนาล๊อค ใช้ดินสอและดาษ ร่างไอเดียการนำเสนอที่คุณอยากเล่า ลองนึกง่ายครับ ว่าถ้าคุณจะขายไอเดียให้คนฟังโดยปราศจากสไลด์คุณจะเล่ายังไง? ลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่บล๊อคของผม “ฝึกการนำเสนอสุดยอดอย่างสตีฟจ๊อบส์”
  2. ตอบคำถามที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอ ประเด็นของคุณคืออะไร? แล้วทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ?

แนวคิดในการออกแบบ

Steve Jobs เป็นนักนำเสนอทางธุรกิจที่เยี่ยมยอมคนหนึ่ง การนำเสนอของเค้าตรงประเด็น เรียบง่าย มีพลัง เพราะสิ่งที่เค้านำเสนอทำให้สื่อมวลชนและลูกค้าเข้าใจได้ง่าย ถ้าคุณไม่เข้าใจความหมายของคำพูดนั้น คุณก็ไม่สามารถบอกต่อได้ สไลด์การนำเสนอของ Jobs อยู่ในกฎเกณฑ์เรียบง่าย มีพลัง และใช้พื้นที่ว่างอย่างชาญฉลาด

ตัดภาพออกไปให้เหลือแต่เฉพาะส่วนที่สำคัญ ศิลปินจึงจะขยายความต่อได้… สก็อต แมคคลาวด์

หลักการออกแบบ 7 ข้อที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการออกแบบสไลด์ที่ดี

  1. Signal vs. Noise Ratio
    เน้นข้อมูลที่ตรงประเด็นให้มากกว่าส่วนเสริม ส่วนเสริมมีได้เพื่อการตกแต่งและสวยงาม แต่ไม่ใช่มาบดบังส่วนที่เราเน้นไอเดียของการนำเสนอของเรา
  2. Picture Superiority Effect
    ลองถามตัวเองดูว่า ข้อมูลที่คุณนำเสนอด้วยข้อความสามารถแทนด้วยรูปภาพได้มั้ย คุณอาจเสริมด้วยข้อความได้บ้าง แต่รูปภาพมีพลังกว่า เทคนิคคือใช้รูปภาพใหญ่เต็มขอบจอการนำเสนอเลย ภาพควรมีที่ว่างมากพอให้คุณใส่ข้อความนำเสนอเข้าไปได้
  3. Empty Space
    พื้นที่ว่างสื่อถึงความรู้สึกของคุณภาพสูง ความละเอียดอ่อนและความสำคัญ ความว่างเปล่าคือองค์ประกอบที่ทรงพลังในการออกแบบ
    ถ้าคุณต้องการทำสไลด์ให้มีพลังและน่าสนใจมากขึ้น ลองใช้การออกแบบที่ไม่สมมาตร (Asymmetric Design) จะทำให้พื้นที่ว่างมีชีวิตชีวาและงานออกแบบน่าสนใจมากขึิน
    กฎสามส่วนแบบมาตรฐาน คือเทคนิคพื้นฐานที่ช่างภาพใช้จัดองค์ประกอบ ถ้าวางสิ่งของไว้ตรงกลางจะทำให้รูปถ่ายไม่น่าสนใจ จุดตัดสี่จุดคือบริเวณที่ควรวางสิ่งของหลักที่ต้องการถ่าย แทนที่จะวางไว้ตรงกลาง
  4. Contrast
    งานออกแบบที่มีการเปรียบต่างสูงจะดึงดูดความสนใจและช่วยให้ผู้ชมเข้าใจภาพที่เห็นง่ายขึ้น จุดต่างจะดึงดูดสายตาก่อน
  5. Repitition
    การออกแบบที่มีเอกลักษณ์ มีการนำมาใช้ซ้ำๆจนสร้างเอกลักษณ์ในการนำเสนอได้ จะสร้างความน่าเชื่อถือและความเป็นอันหนึ่งอีนเดียวกันในการนำเสนอ
  6. Alignment
    การปรับแนวคือการจัดวางองค์ประกอบให้อยู่ในแนวเดียวกัน ไม่ใช่วางสะเปะสะปะไปหมด
  7. Proximity
    ความใกล้ชิดเป็นเรื่องของการจัดวางองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้อยู่ด้วยกัน และจัดให้ดูเหมาะสม แบ่งแยกกันได้ชัดเจนเหมาะสม

presentation-zen1sm

สไลด์ที่เต็มไปด้วย Text และ Bullet Points ที่น่าเบื่อหน่าย

presentation-zen2sm

การใช้ภาพเต็มขอบและเลือกรูปได้สื่ออารมณ์ความรู้สึก มีพื้นที่ว่างเหมาะสมที่จะวางข้อความที่เราต้องการเน้นในการนำเสนอ

presentation-zen3sm

ภาพซ้าย: รูปภาพ Elvis ขนาดเล็กเกินไป และมีการตกแต่งเป็น Noise ที่มากเกินไป แทนที่จะไปเน้นที่ Signal / ภาพขวา: มีการปรับเน้น Signal ให้ชัดเจนมากขึ้น จะเห็นว่าสไลด์ดูมีพลังในการนำเสนอมากขึ้นเยอะเลย

show
รูปแบบการ Quote ข้อความที่มีพลัง น่าสนใจ
6a00d83451b64669e200e54f2dde7f8834-800wi
การวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตรที่ดูน่าสนใจกว่าแบบสมมาตร และมีการใช้กฎสามเหลี่ยมทองคำมาใช้ในการวางองค์ประกอบ จุดเน้นของภาพให้อยู่ที่จุดตัดสี่จุด
h_bar2_2
กราฟที่เรียบง่ายและเน้นจุดที่สนใจให้แตกต่าง (Contrast) ชัดเจน
picture11_1
ตัวอย่างสไลด์ที่เรียบง่ายของ Steve Jobs

One thought on “Presentation Zen ออกแบบการนำเสนออย่างเรียบง่ายและทรงพลัง

  1. เรื่องการนำเสนอนี้ไม่ควรมองข้ามจริงๆ ขอบคุณที่เขียนมาให้ได้ติดตามและนำไปใช้ในสนามจริงๆได้ ขอให้ทำสิ่งเหล่านี้ต่อไปเรื่อยๆ ครับ รู้สึกดีที่ได้อ่านครับ =)

    Like

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s