อากู๋ของผมได้ส่งบทความจากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ 24 มิ.ย. 57 มาให้ครับ บทความชื่อว่า ‘อัจฉริยะทางภาษา’ สร้างได้ง่ายนิดเดียว เป็นบทความที่น่าสนใจมาก บทสรุปมีดังนี้ครับ

- ช่วงเวลาที่เด็กเรียนรู้และจดจำสำเนียงภาษาได้ดีที่สุด คือ ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนกระทั่งถึงอายุ 2-3 ขวบ ซึ่งถือเป็นช่วง “วัยแพลทินัม” ของมนุษย์เรา เป็นช่วงที่เรียนรู้ภาษากาย ภาษาพูด ได้กว้าง ละเอียด และอยู่ได้อย่างถาวรที่สุด
- แนะนำให้เปิด DVD ส่งเสริการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ดูตั้งแต่เด็กๆ (ตรงกับหลักการเด็กสองภาษา ของ คุณพงษ์ระพี เตชพาหพงษ์) เช่น Baby Einstein และ Little Einstein
- ศ.(เกียรติคุณ)นพ.ประเสริฐ บุญเกิด ซึ่งเป็นศาสตราจรย์ด้านสมองได้รณรงค์เรื่องการสอนภาษาเด็กตั้งแต่เล็กๆแบบนี้มานานแล้วให้เด็กไทยเรียนรู้ภาษาตั้งแต่เด็กๆ โตขึ้มาจะได้ใช้ภาษาได้เก่งทัดเทียมเจ้าของภาษา และมี IQ สูง
และผมได้ลองค้นหาข้อมูลต่อ ก็ได้พบผลการทดลองสอนเด็กสองภาษา โดย ศ.(เกียรติคุณ)เดชา บุญค้ำ ที่ได้ทำการสรุปการสอนเด็กสองภาษาออกมาได้อย่างน่าสนใจครับ (ไว้จะกลับมาอ่านแล้วสรุปไอเดียอีกที) ลองดาวน์โหลดไปอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างครับ
และการศึกได้ยังได้พูดถึงบทความนึงของ TIME Magazine ชื่อว่า The Power of Bilingual Brain เขียนโดย Jeffrey Kluger / Salt Lake City สามารถอ่านเต็มๆได้ที่ลิงค์นี้ The power of the bilingual brain – Times article ผมขอ copy มาดื้อๆเลยจากบทสรุปที่มีคนแปลไว้อย่างดีแล้วจากที่นี่ครับ
ทารกเลียนสำเนียงภาษาได้ดีที่สุดในชีวิตเมื่ออายุสองเดือน
บทความในนิตยสาร TIME ฉบับประจาวันที่ July 29 2013 ได้ลงบทความเรื่อง The Power of The Bilingual Brain โดย Jeffry Kluger สรุปว่าการเรียนภาษาที่สองช่วยให้เด็กมีการคิดที่ว่องไวขึ้น และว่ามีหลายโรงเรียนในสหรัฐฯ พยายามมองหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อช่วยนักเรียนได้รับประโยชน์จากการเป็นเด็กสองภาษาโดยใช้แผนภูมิจากแหล่งข้อมูลของ Center on the Developing Child, Harvard University:
Use It or Lose It – จะใช้มันหรือจะเสียมันไป ภาวะหลายภาษา (multilingualism) เป็นทักษะตลอดชีพ –แต่ต้องเริ่มเรียนรู้ให้เร็วที่สุด
- ในครรภ์มารดา ทารกสามารถได้ยินเสียงพูดของแม่ได้ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปและเรียนรู้และจำจังหวะสำเนียงภาษาที่แม่พูดได้
- เมื่อคลอด เด็กจำภาษาแม่ได้และสามารถแยกความแตกต่างกับภาษาอื่นได้ ถ้าแม่พูดสองภาษาเด็กก็จะจำได้ทั้งสองภาษา
- มีความสามารถสูงสุดเมื่ออายุ 9 เดือน เมื่อทารกมีอายุได้ 1 ขวบคนเราจะยังมีหูที่จับสาเนียงภาษาได้ดีเยี่ยมอยู่แต่ประตูจำสาเนียงจะเริ่มปิดโดยเร็ว เนื่องจากการกำจัดจุดประสานประสานประสาท (synaptic pruning) ที่ไม่ได้ใช้
- การลดความสามารถเกิดอย่างรวดเร็วเมื่ออายุ 6 ขวบ เด็กชั้นประถมปีที่ 1 ไม่ใช่ นักเรียนภาษาที่เรียนแบบธรรมชาติแต่ใช่ ในช่วงที่ยังเป็นทารก แต่เด็กวัยนี้ก็ยังมีความสามารถเหนือกว่าวัยรุ่นและผู้ใหญ่
- ภายในสมอง ไม่มีพูสมอง (lobe) เดี่ยวสำหรับภาษา แต่ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะเช่นการสร้างประโยค การพูดและการเข้าใจกระจายเก็บอยู่ทั่วไปในสมอง
การเชื่อมวงจรระหว่างช่องว่างเซลสมองหรือ synapse เกิดขึ้นทันทีหลังคลอดด้วยความรวดเร็วประดุจการระเบิดแต่จะเริ่มถูกขจัดทิ้งโดยกระบวนการตัดแต่งตั้งแต่อยู่ในวัยทารก การลดจำนวนจุดประสานประสาทที่ไม้ใช้นี้ทาให้กระบวนการรับรู้ (cognitive) และกระบวนการใช้พลังงาน (calorically) ของสมองมีประสิทธิภาพขึ้น
Reference บทความแรกของ ศ.(เกียรติคุณ)เดชา บุญค้ำ: บทความเต็มๆจากหนังสือพิมพ์มติชน