ทิศทาง E-Payment อนาคตอีคอมเมิร์ซไทย

ทุกวันนี้ การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอีกต่อไป แต่องค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้นั่นก็คือ “ระบบการชำระเงินที่ดี” เพราะหากผู้ซื้อสามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ได้ง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย แปลว่าผู้ประกอบการเองก็สามารถที่จะระบายสินค้าและมีรายได้เข้ามาคล่องมือเช่นเดียวกัน และด้วยการเติบโตของอีคอมเมิร์ซจึงทำให้ระบบ e-Payment ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยซัพพอร์ตธุรกิจนี้ จึงเป็นอะไรที่น่าจับตามองมากทีเดียว

E-Payment คืออะไร

E-Payment หรือ ระบบการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ไม่จำกัดแค่กระบวนการการชำระเงินออนไลน์เท่านั้น การทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM ก็ถือเป็นการใช้ระบบ e-Payment เช่นกัน

ทั้งนี้ ETDA ได้เผยผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2559 โดยแบ่งรูปแบบการชำระเงินอีคอมเมิร์ซในไทย ออกเป็น

ผ่านทางออฟไลน์

  • ชำระเงินปลายทางกับพนักงานโดยตรง (COD)
  • ชำระเงินผ่านผู้ให้บริการเคาน์เตอร์รับชำระเงิน เช่น 7-11, Tesco Lotus, Big C เป็นต้น

COD payment.jpg

ผ่านทางออนไลน์

  • ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิต
  • ชำระเงินผ่าน Paypal
  • ชำระเงินผ่านระบบ e-banking (รวม Internet Banking, ATM Telephone Banking)
  • ชำระเงินผ่านระบบ Mobile Payment (เช่น m-Pay, True Money เป็นต้น)

โดยปัจจุบันผู้ให้บริการ e-Payment ในประเทศไทยนั้น มีหลายเจ้าด้วยกัน มีการก่อตั้งชมรมผู้ประกอบการ E-Payment & E-Money ประเทศไทย มาตั้งแต่เมื่อปี 2015 โดยสมาชิกนั้นมีทั้ง mPay, True Money, Paysbuy, Thai Smart Card, NetBay, Rabbit, MOL, Pay Solutions, 2C2P และ  TARAD.com เป็นต้น

จับตาสถานการณ์ e-Payment ในภูมิภาคเอเซีย

นอกจากการเติบโตของระบบ e-Payment จะสามารถสร้างผลกระทบด้านบวกให้กับเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ กว่า 70 ประเทศทั่วโลก โดยมีสถิติจาก Let’s Talk Payments ที่รายงานผลการวิจัยอันน่าทึ่งว่า ในช่วงปี 2011 – 2015 ระบบ e-Payment สามารถสร้างรายได้กว่า 296 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้จีดีพีใน 70 ประเทศเติบโตขึ้น ด้วยระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปีเท่านั้นเองครับ

  • ในประเทศจีนเมื่อ ปี 2016 ที่ผ่านมา มีการเผยตัวเลขจาก Alibaba ยักษ์ใหญ่ของวงการอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเปิดให้บริการ e-Payment ในลักษณะกระเป๋าเงินบนสมาร์ทโฟน ชื่อ “Alipay” ซึ่งได้รับความนิยมในจีนอย่างมาก มีฐานผู้ใช้ทะลุ 450 ล้านคนที่จ่ายเงินผ่าน Alipay และมีการเปิดเผยว่า มียอดใช้จ่ายผ่าน Alipay มีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 20,400 เหรียญสหรัฐในปีที่ผ่านมา ทางด้าน Tencent Group เองก็มีแพลตฟอร์มชำระเงินที่ชื่อว่า “WeChat Pay” สำหรับชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆในจีน เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการจ่ายเงินที่สะดวก และรวดเร็วมากขึ้นทีเดียวครับ
  • ใกล้เข้ามาอีกนิด สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เอง ก็เริ่มมีการใช้ e-Payment มากขึ้น โดยในประเทศอินโดนีเซียนั้น ด้าน GoJek (แอพบริการโดยสารมอเตอร์ไซค์) ก็มีแพลตฟอร์มการชำระเงิน ชื่อว่า “GoPay” ซึ่งมีรายงานจาก Bloomberg ว่า GoPay นั้นมี Account มากกว่าครึ่งหนึ่งของ GoJek แล้ว และแพลตฟอร์มนี้สามารถใช้ได้กับทุกบริการจาก GoJek โดยคุณไม่ต้องชำระค่าบริการเป็นเงินสดเลยครับ

Image result for Go Pay

สถานการณ์ E-Payment ในไทย

  • รัฐบาลได้ผลักดัน National e-Payment มาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น และยังช่วยสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในอนาคตครับ
  • กลุ่มสตาร์ทอัพ หรือ Fintech มีผู้เล่นรายใหม่ในตลาดจำนวนมาก และเริ่มพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงิน สะดวกและปลอดภัยมากขึ้นครับ
  • แนวโน้มของการไม่ต้องใช้เงินสด หรือสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) มาแน่นอนไม่เกิน 5 ปี (ข้อมูลจากงาน Priceza Awards 2016) แต่ในปัจจุบันนักช้อปไทยยังชอบ COD หรือการชำระเงินปลายทางเมื่อได้รับสินค้านะครับ เนื่องจากกลัวความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยครับ

nep

ทิศทาง e-Payment ไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป

เท่าที่ผมดูสถิติในประเทศไทยจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2558 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.0 โดยการใช้บัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงิน หรือ Payment cards มีจำนวนปริมาณสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.2 ของการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และรูปแบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2553-2558 เป็นต้นมา ก็คือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ครับ โดยโตขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 33.0 ต่อปี จะเห็นได้ว่าทิศทางของ e-Payment นั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆนะครับ

ข้อมูลที่ผมได้กล่าวไปทั้งหมดนั้น ผมถือว่า e-Payment ในประเทศไทยมีความท้าทายระดับหนึ่ง ในการจะสร้างให้ e-Payment ในรูปแบบต่างๆเป็นที่แพร่หลายในระดับ Mass ทั้งนี้ e-Payment จะบูมได้ในไทยคงต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายๆภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ และภาคเอกชนเอง ต้องให้ความร่วมมือ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อยกระดับสังคมอีคอมเมิร์ซให้พัฒนาต่อไปอีกระดับครับ

 

บทความนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s