หลักการ 7 ข้อ แทบไม่มีเงิน แต่อยากสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ ทำยังไง?

ปีที่แล้วที่ผมได้ไปใช้ชีวิตเรียนรู้ Startup ใน Silicon Valley และผมได้เข้าไปฟัง Captain Hoff (a.k.a. Steve Hoffman) ผู้ก่อตั้ง Founder Space ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมเร่งการเติบโตสตาร์ทอัพเจ้านึงใน Silicon Valley แชร์ความรู้ด้านการทำธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ

รูปภาพด้านบน คือผมกับ คุณ Steve Hoffman ถ่ายรูปกับหนังสือของเค้า วันนั้นผมโทรมๆหน่อย ลงเครื่องที่ San Francisco วันแรก แล้วฝ่าฝนไปฟังเค้าที่ Google Launchpad คืนนั้นเลย 555

คุณสตีฟเค้าแชร์เรื่องนึงที่น่าสนใจ ชื่อหัวข้อคือ How to Build a Successful Startup with Little or No Money! (แทบไม่มีเงิน แต่อยากสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ ทำยังไง?)

วันนี้ผมอยากมาเล่าให้ฟังครับ จากที่ฟังคุณสตีฟ รวมทั้งจากประสบการณ์ในการทำ Priceza และเป็นที่ปรึกษาให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเกือบสิบราย ว่าแม้แทบไม่มีเงินติดตัว คุณเองก็สามารถมีโอกาสที่จะสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จได้ ด้วยแนวคิดเหล่านี้

1. เริ่มต้นจากไอเดียเล็กๆ

บริษัทชั้นเทคโนยีชั้นนำของโลกล้วนแล้วแต่เกิดจากไอเดียเล็กๆก่อนแทบทั้งสิ้น ก่อนที่จะขยับขยายสร้างอาณาจักรใหญ่โตมหาศาลจนทุกวันนี้

Google เริ่มต้นจากไอเดียเล็กๆ ที่อยากสร้างเครื่องมือค้นหาข้อมูล ด้วยการนำแนวคิดของลิงค์ที่เชื่อมโยงมาเว็บเพจต่างๆมาสร้างเป็นคะแนนความน่าเชื่อถือ (Page Rank Algorithm) ในการจัดอันดับผลการค้นหา

IMG_6338
เครื่องคอมพิวเตอร์ Server เครื่องแรงของ Google สร้างขึ้นมาง่ายๆ และถูกตกแต่งด้วย Lego ผมถ่ายรูปนี้ไว้เมื่อปีที่แล้วขณะที่ผมไปทัวร์มหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งเป็นสถานที่ที่ Sergey Brin และ Larry Page เริ่มไอเดียสร้าง Google

Amazon เริ่มต้นจากเริ่มต้นจากไอเดียเล็กๆ ที่ Jeff Bezos อยากทำให้ประสบการณ์ในการสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ดีขึ้น เพราะเค้าพบว่าเพื่อนเค้าสั่งหนังสือออนไลน์มาแล้วเจอว่ากล่องพัสดุเสียหาย หนังสือชำรุด

จะเห็นได้ว่า ก่อนที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้จะสร้างอาณาจักรธุรกิจ ผู้ก่อตั้งเริ่มจากไอเดียเล็กๆที่อยากแก้ปัญหาบางอย่างก่อน

คุณสตีฟมีมุมมองว่า ถ้าคุณแทบไม่มีเงิน ให้คุณมองข้ามการสร้างสตาร์ทอัพสาย Hardware เพราะว่าต้องอาศัยเงินลงทุนที่สูง และเสี่ยงมาก ตัวอย่างเช่น ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ที่ใช้เงินลงทุนสูง ให้คุณเน้นมองการสร้างสตาร์ทอัพสาย Software ที่ใช้เงินลงทุนต่ำกว่ามาก

inside-the-tesla-factory
ภายในโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ของ Elon Musk ที่มาของภาพ จาก inverse.com

ข้อดีของการเริ่มต้นจากไอเดียเล็กๆ

  • มันง่ายกว่าที่จะ สร้างมันขึ้นมา
  • มันง่ายกว่าที่จะ หาจุดปรับปรุง
  • มันง่ายกว่าที่จะ แก้ไขและพัฒนา
  • มันง่ายกว่าที่จะ สร้างและเปิดตัวมันในระยะเวลาอันสั้น
  • มันง่ายกว่าที่จะ ใช้งาน
  • มันง่ายกว่าที่จะ ได้รับคำแนะนำ (feedback) ที่ชัดเจน
  • มันง่ายกว่าที่จะ ขยายธุรกิจ (Scale)
  • มันง่ายกว่าที่จะ ทำตลาด

2. มองหาคลื่นยักษ์

คุณสตีฟบอกว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จ คือ “ถูกที่ถูกเวลา” นั่นคือ แม้คุณจะมีทีมที่เจ๋งและสร้างผลิตภัณฑ์สุดยอดออกมา แต่คุณนำมันสู่ตลาดผิดเวลา เช่น มาก่อนตลาดจะตอบรับ หรือมาช้าไปที่คู่แข่งมายึดหัวหาดแล้ว สตาร์ทอัพของคุณก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้

เปรียบเสมือนคุณเป็นนักโต้คลื่น การที่คุณจะสามารถโต้คลื่นได้ คุณต้องคอยเฝ้ามองหาลูกคลื่นตั้งแต่มันยังเล็กๆ แต่คุณมองมันออกว่ามันจะขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเมื่อมันใกล้เข้ามาหาคุณขึ้นเรื่อยๆ แล้วคุณก็ต้องเตรียมตัวค่อยๆว่ายเข้าไปหามัน และเมื่อคุณพร้อม คุณก็สามารถโต้ลูกคลื่นยักษ์นั้นได้

boat-rentals-paje-zanzibar-central-south-region-processed
รูปภาพจาก getmyboat.com

3. เสน่ห์ของความเรียบง่าย (Simplicity)

คุณเคยได้ยินคำนี้ไหมครับ “Less is more.” (ยิ่งเรียบง่าย ยิ่งยอดเยี่ยม)

การทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ เกิดจากการที่คุณสามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆให้กับลูกค้าได้ และความเรียบง่าย จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจง่ายขึ้นว่าทำไมสินค้าคุณถึงจะมาช่วยแก้ปัญหาเค้าได้ และเค้าสามารถใช้ได้ง่ายๆ

คุณรู้มั้ยครับว่าตอนแรก Instragram ไม่ได้เน้นให้คนถ่ายรูปและแชร์รูปสวยๆแบบทุกวันนี้ ตอนแรกผู้ก่อตั้งใส่ฟีเจอร์เข้าไปเยอะแยะมาก แต่พบว่าสิ่งที่คนชอบใช้มีแค่ฟีเจอร์แต่งรูปและแชร์รูปสวยๆเท่านั้น ผู้ก่อตั้งเลยตัดฟีเจอร์อื่นๆออกให้หมด และทำให้ Instragram เรียบง่าย โดยเน้นแค่ 3 เรื่องที่สำคัญ คือ แต่งรูปสวยๆได้ แชร์รูปไปตาม Social Networks ต่างๆได้ง่าย และอัพโหลดรูปได้รวดเร็ว นี่คือพลังของความเรียบง่าย และทำให้ผู้ใช้เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล

อีกท่านหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ Steve Jobs ที่เป็นเจ้าพ่อของของการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เรียบง่าย ซึ่งมันทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อันยอดเยี่ยมทั้ง iPod, iPhone, iPad ทั้งที่จริงๆก่อนหน้า iPod ก็มีเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลมากมายแล้วหลายยี่ห้อแต่ล้วนแล้วใช้ยาก

4. ประเมินตลาดก่อนสร้างผลิตภัณฑ์ (Market Validation)

จากไอเดียเล็กๆ ให้คุณมองหาลูกค้าของคุณ คือคนที่คุณจะเข้าไปแก้ปัญหาให้เค้า และเดินไปคุยกับเค้าครับ อย่าใช้เวลาของคุณส่วนใหญ่เอาแต่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ ให้คุณออกจากออฟฟิสไปหาลูกค้า คุยกับเค้าเยอะๆๆๆๆ ลองแชร์ไอเดียว่าคุณจะแก้ปัญหาให้เค้ายังไง และคอยสังเกตปฏิกิริยาของเค้า

ถ้าให้ดีเลย คุณควรสร้าง MVP (Minimum Viable Product) ซึ่งคือผลิตภัณฑ์ของคุณที่ใกล้เคียงของจริงๆที่สุดแบบปลอมๆขึ้นมา เพื่อเอาไปวัดผลกับลูกค้าดู ตัวอย่างคลาสสิคอันนึงคือ Dropbox ที่สร้างวีดีโอจำลองขึ้นมาตอนที่เค้าไป demo ให้นักลงทุนฟังไอเดียของเค้า ทั้งที่จริงๆเค้ายังไม่ได้สร้าง Dropbox ของจริงขึ้นมาด้วยซ้ำ

ถ้าเค้าบอกประมาณว่า “เอ้อ น่าสนใจนะ ถ้าคุณสร้างผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมาแล้ว มาบอกผมหน่อย” คุณสตีฟบอกว่าไอเดียคุณน่าจะไม่ดีพอ ให้คุณล้มเลิกไปหาไอเดียอื่นเลย เค้าแนะนำว่า ไอเดียที่เด็ดจริงๆที่แก้ปัญหาให้กับลุูกค้าได้ ลูกค้าส่วนใหญ่จะบอกเลยว่า อยากได้ตอนนี้เลย ผมจ่ายเงินให้คุณเลยได้ไหมเพื่อใช้บริการของคุณ ผมทนรอไม่ไหวแล้ว มันต้องแรงถึงขั้นนี้เลย

ลองอ่านบทความที่เกี่ยวข้องของผมอันนี้ครับ ลงทุนแรมเดือน(ปี)สร้างเว็บ แล้วคุณมั่นใจเหรอว่ามันจะเกิด???

5. สร้างมันขึ้นมาจริงๆแบบหลอกๆ (Fake it)

ฟังดูอาจขัดแย้งกัน ผมหมายความว่าให้คุณสร้างผลิตภัณฑ์แบบ MVP (Minimum Viable Product) ซึ่งคือผลิตภัณฑ์ของคุณที่ใกล้เคียงของจริงๆที่สุดแบบปลอมๆขึ้นมาครับ โดยใช้เงินทุนให้น้อยที่สุดดดดด อะไรที่สร้างขึ้นมาปลอมๆได้ ให้ทำ อะไรที่คุณหลอกได้ให้หลอกไปก่อน แต่ผมไม่ได้หมายความว่าให้คุณไปหลอกลูกค้านะครับ

ก่อนที่คุณจะได้รับเงินทุนก้อนแรก แน่นอนว่าคุณแทบไม่มีเงิน แล้วจะทำยังไงล่ะทีนี้ จะมีเงินไปจ้างคนมาเขียนโปรแกรมได้ยังไงกัน

ลองดูภาพรถยนต์คันนี้ของฟริ้นสโตน ที่ใช้เดินทางได้ รับส่งเพื่อนๆได้จริง แต่แท้จริงแล้วยังไม่มีมอเตอร์ นั่นคือฟริ้นสโตน สร้างรถแบบนี้ขึ้นมาเพื่อทดสอบไอเดียบางอย่าง ก่อนที่จะลงทุนเยอะๆ

giphy.gif

MVP ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับลูกค้าจริงๆแล้วนะครับ แต่ยังไม่ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ วัตถุประสงค์ของ MVP เพื่อให้คุณเข้าไปประเมินตลาดกับลูกค้าจริงๆ และวัดผลตอบรับของลูกค้า

คุณรู้ไหมครับว่า Jeff Bezos เริ่มต้นธุรกิจ Amazon ด้วยการเป็นร้านขายหนังสือ Jeff ไม่อยากเอาเงินไปลงทุนซื้อหนังสือเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าเยอะๆ สิ่งที่เค้าทำคือ สินค้าหนังสือหลายๆรายการ เค้าไม่ได้เก็บสต็อกไว้ แต่ในหน้าเว็บไซต์เค้าไม่จำเป็นต้องสื่อสารเรื่องนี้ให้ลูกค้ารู้

รวมทั้งรู้ไหมครับว่า Jeff จะต้องไปซื้อหนังสือจากร้านขายส่ง ซึ่งมีจำนวนขั้นต่ำว่าต้องสั่งหลายๆเล่มถึงได้ซื้อในราคาส่ง Jeff ไม่อยากสั่งซื้อหนังสือทีเดียวหลายๆเล่มครับ เค้าใช้ทริค เวลาไปกดสั่งหนังสือจากร้านขายส่ง เค้าจะกดสั่งหนังสือรายการที่หมดสต็อกเข้าไปด้วย เพื่อให้เค้าส่งได้ในราคาส่ง ทั้งที่สุดท้ายแล้ว ร้านจะบอกเค้าว่าหลายๆเล่มที่เค้ากดสั่งไม่มีสินค้า

6. ใช้เทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว

คุณสตีฟแชร์ว่า หลายคนเข้าใจว่าว่า “นวัตกรรมคือเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี” ทั้งที่จริงๆแล้ว เทคโนโลยีเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของนวัตกรรม และโดยส่วนใหญ่แล้ว ก็ไม่ได้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดด้วย

ยิ่งคุณไม่มีเงิน คุณยิ่งไม่ควรที่ต้องไปลงทุนในการสร้างเทคโนโลยี หมายถึง Core Technology ที่ต้องใช้งบประมาณเยอะๆในการวิจัยและพัฒนา แต่ให้คุณไปมองหาเทคโนโลยีพร้อมใช้ต่างๆในตลาด เช่น WordPress, Github, Unreal, Amazon AWS, Tensorflow เป็นต้น สิ่งพวกนี้เป็นเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพียงคุณเอาสิ่งต่างๆมาประกอบร่างกันเป็นผลิตภัณฑ์กันได้ คุณก็สามารถมีโอกาสตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าคุณได้แล้ว

7. ขายอนาคตที่ใหญ่กว่าตอนนี้ 100 เท่า

ที่ผ่านมาทั้งหมด เราพูดถึงแต่เรื่องเล็กๆที่เรียบง่าย ให้เลือกไอเดียเล็กๆ แล้วใช้เวลาน้อยๆในพัฒนา MVP แต่เรื่องนึงที่ต้องใหญ่มหึมาคือ “โอกาส”

การที่คุณจะทำให้ไอเดียเล็กๆ กลายเป็นธุรกิจพันล้าน ก็ต่อเมื่อไอเดียนั้นสามารถสร้างโอกาสได้มหาศาล

ด้วยโอกาสที่มหาศาลนี้ คุณสามารถขายไอเดียนี้ให้กับทั้ง ผู้ร่วมก่อตั้ง, ที่ปรึกษา รวมทั้งนักลงทุน เพื่อให้เค้าเห็นอนาคตที่ใหญ่กว่าตอนนี้ 100 เท่า และโน้มน้าวให้เค้าเข้ามามีส่วนร่วมกันความฝันของคุณ

ผมยังได้แชร์มุมมองการเป็นผู้ประกอบการไว้ด้วยในวีดีโอด้านล่างนี้สำหรับท่านที่สนใจเรียนรู้ต่อยอดครับ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s