จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน

“จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน”
พระบรมราโชวาท ในหลวง ร.9 จากบันทึกในหนังสือเฉลิมพระเกียรติ 36 แผนที่ชีวิตของพ่อ

ความสุข เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายเฝ้าตามหา หลายคนเชื่อว่า… เงินทองมากมาย เงินเดือนสูงๆ ลาภยศ ตำแหน่งดีๆ หน้าที่การงานที่ประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากในระบบทุนนิยมต่างขวนขวาย วิ่งตามหามัน อยากที่จะได้มันมา เพราะเชื่อว่ามันจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราดีมากยิ่งขึ้น และทำให้เรามีความสุขได้อย่างยั่งยืน

แต่หลายคน พอเราได้เงินดือนเพิ่มมากขึ้น รายได้มากขึ้น แต่ทำไม๊ ทำไม เราก็มีความต้องการ ความอยากได้เพิ่มมากขึ้นตามรายได้ของเรา เหมือนเป็นเงาตามตัวเราทีเดียว?

◌◌◌◌◌◌◌◌

ผมได้ลงเรียนคอร์สออนไลน์ The Science of Well-Being สอนโดย Laurie Santos อาจารย์ด้านจิตวิทยา แห่ง Yale University ได้ค้นพบว่า รายได้ดีๆมีผลต่อความสุข แต่เมื่อเรามีรายได้พอเพียงเกินจุดหนึ่งไปแล้ว ระดับความสุขกลับไม่ได้เพิ่มเติม และมากไปกว่านั้นสิ่งของนอกกายอันหรูหราราคาแพงนั้น ล้วนแล้วแต่ไม่ได้นำมาซึ่งความสุขให้กับเราได้แบบยั่งยืน เพราะไม่นานเราก็จะคุ้นชินกับมัน และกลับไปมีระดับความสุขเท่าๆเดิม
.
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยิ่งเรามีมันเยอะมากเท่าไหร่ เราใช้มันบ่อยแค่ไหน เราก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น…
.
สิ่งนี้คือ “จุดแข็งของเรา”
.
Prof. Dr. Martin Selingman ทำการศึกษา และพบว่า ยิ่งเราใช้ชีวิตของเราให้ตรงกับคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งในแต่ละวันมากเท่าไหร่ มันยิ่งทำให้เรามีความสุขมากขึ้นในแต่ละวัน
.
นั่นคือ… สิ่งหนึ่งที่เสริมสร้างความสุขให้เราได้ มันไม่ใช่สิ่งของ แต่มันคือทักษะ คือความถนัด คือพรสวรรค์ ที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด
.
แต่ละวัน มันจะไม่ได้ดูยากลำบาก ไม่ได้ดูฝืน มันจะดูเหมือนเราใช้เวลาสนุกไปกับมัน และผลงานที่ออกมา ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า คนที่ไม่ได้เน้นไปที่จุดแข็งตัวเอง จากการศึกษาของ Prof. Dr. Martin Selingman พบว่า…
.
คนที่รู้จักจุดแข็งของตัวเอง มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนทั่วไปถึง 9เท่าตัว และมากไปกว่านั้น คนที่ใช้จุดแข็งบ่อยๆๆในการทำงาน มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนทั่วไปถึง 18เท่าตัว

◌◌◌◌◌◌◌◌

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาเรื่องจุดแข็งกันมากมาย และในช่วงปี 2000 ก็ได้ก่อกำเนิดโครงการ VIA (The Values in Action) ขึ้นเพื่อที่จะช่วยในการจำแนกคุณลักษณะจุดแข็งของแต่ละบุคคล ออกมาได้ 24 ด้าน (6 กลุ่ม) คนหนึ่งคนมีคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งได้มากกว่า 1 อย่าง คุณลักษณะไหนไม่ได้เป็นจุดแข็ง ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นจุดอ่อน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การให้ความสนใจกับการพัฒนาคุณลักษณะโดดเด่นที่เป็นจุดแข็งให้แสดงบทบาทในชีวิตจริงได้อย่างเต็มที่
.
มนุษย์ทุกคนล้วนมีจุดแข็ง ทั้ง 24 ด้านที่แตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนกันซักคนเดียว มีมากน้อยแต่ละด้านไม่เท่ากัน
.
มนุษย์ทุกคนจะมีจุดแข็งด้านที่เรามีสูงๆท๊อปอยู่ด้วยกันหมด จุดแข็งกลุ่มนี้เรียกว่า Signature Strengths หรือก็คือจุดแข็งที่เป็นอัตลักษณ์ของเรา
.
คุณลักษณะจุดแข็งแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

  1. ปัญญาและความรู้ (wisdom and knowledge) จุดแข็งที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ การรับความรู้และนำความรู้ไปใช้
  2. การมีกำลังใจ (courage) จุดแข็งทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่นพยายามไปให้ถึงเป้าหมาย ด้วยแรงขับจากทั้งภายในและภายนอก ประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ
  3. ความเป็นมนุษย์ (humanity) จุดแข็งที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นำไปสู่การเอาใจใส่ดูแลผู้อื่นและความเป็นเพื่อน (tending and befriending)
  4. ความยุติธรรม (justice) จุดแข็งที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคม รากฐานของคุณภาพชีวิตที่ดีในชุมชน
  5. การควบคุมอารมณ์ (temperance) จุดแข็งที่ป้องกันสิ่งเร้าจากภายนอก
  6. การเข้าใจความจริงของชีวิต (transcendence) การเห็นคุณค่าของความงาม (appreciation of beauty) การสังเกตเห็นและชื่นชมความงามและทักษะรอบตัวในทุกด้านของชีวิต

งานวิจัยเรื่อง ‘Character Strengths Interventions: Building on What we know for improved outcomes.’ ตีพิมพ์ออนไลน์ใน Springer Science Business Media กล่าวว่า การให้เวลากับการพัฒนาคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งดีกว่าการให้เวลากับการปรับปรุงจุดด้อย เพราะการสร้างเสริมคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาน้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้มากกว่า

มาถึงจุดนี้แล้ว ท่านไหนสนใจอยากค้นพบจุดแข็งของตัวเองด้วยผ่านโครงการ VIA (The Values in Action) ก็สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ฟรีที่ https://www.viacharacter.org ซึ่งสามารถเลือกทำเป็นภาษาไทยได้ด้วยครับ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s