คาด(เดา) Thailand E-Commerce 2022 โดย Wai Thanawat

ปี 2021 เป็นปีที่ดีของตลาด E-Commerce ประเทศไทยอีกปีหนึ่งครับ เพราะมีการคาดการณ์ว่าปีที่แล้วตลาดเติบโตขึ้นมากถึง 75% จากปี 2020 และผมเองคาดการณ์ว่าปีนี้ 2022 จะยังคงการเติบโตขึ้นอีกราวๆ 30% ไปแตะมูลค่า 9แสนล้านบาท โดยมูลค่าที่ว่านี้ยังไม่รวมตลาด Social Commerce เลยด้วยซ้ำนะครับ

มูลค่าตลาด E-Commerce ประเทศไทย

  • ปี 2019 ~165,000 ล้านบาท
  • ปี 2020 ~396,000 ล้านบาท (โต 140%)
  • ปี 2021 ~693,000 ล้านบาท (โต 75%)
  • ปี 2022 ~900,900 ล้านบาท (โต 30%)

*อ้างอิงข้อมูลของ Google eConomy 2021

ผมขอคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในตลาด E-Commerce ประเทศไทศไทยดังนี้ครับ

◌◌◌◌◌◌◌◌

1) E-Marketplace เป็นสนามการค้านานาชาติ

Lazada/Shopee/JD เป็นสามทหารเสือผลักดัน Cross-border E-Commerce ดันสินค้านานาชาติทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ท่วมตลาดไทย ช่วงก่อนหน้าสินค้าจีนถล่ม ปีนี้ผมคาดดว่าจะเจอสินค้าจาก Japan, South Korea จะเข้ามาอีกเยอะ

ผมลองหาข้อมูลดูก็พบว่า Shopee ตั้งหน้าตั้งตาหาคนมาร่วมทีม Cross Border กันอย่างจ้าละหวั่น โดย Shopee Cross Border team เปิดรับทีม Cross border ในประเทศเหล่านี้เข้าร่วมทีมอย่างต่อเนื่อง คือ China, Singapore, Malaysia, Japan, South Korea และมีการตั้งทีม Shopee International Platform ที่เริ่มต้นทำ pilot เมื่อปีที่แล้วในประเทศ Singapore และ Malaysia เปิดให้ Sellers ใน 2 ประเทศนี้ สามารถเอาสินค้าไป list ลงขายได้ใน 5 ประเทศเป้าหมาย คือ ไทย, เวียดนาม, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ผมเชื่อว่าเพราะ Singapore และ Malaysia มีระบบ Custom Clerance ที่เป็นขั้นเป็นตอนชัดเจนและเปิดกว้างในการนำเข้าส่งออกมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ปีนี้เชื่อเลยว่าจะเริ่มขยาย scope pilot ให้มากขึ้น อาจจะเริ่มชวน Seller ไทยบางกลุ่มไปทำตลาดกัน

Shopee International Platform มีการอ้างข้อมูลนึงว่ายอดขายในช่วง Oct 2019 ถึง Sep 2020 โต 43X in ADO (Average Daily Order) หรือจำนวนยอดเฉลี่ยการซื้อต่อวัน และโตถึง 60x in ADM (Average Daily Merchandize Value) หรือมูลค่ายอดขายเฉลี่ยต่อวัน โตมหาศาลเลย และอันนี้ผมคิดว่าจะเป็นตัวที่ Shopee ต้องผลักดันอย่างมากในปี 2022 นี้ครับ

ปัจจัยหนุนอีกเรื่องของการค้าข้าวประเทศคือเรื่อง RCEP ซึ่งไทยยื่นให้สัตยาบัน RCEP แล้วเมื่อวันที่ 28 ต.ค.2564 ทำให้ข้อตกลงการค้าเสรีขนาดใหญ๋ที่สุดในโลกจะเริ่มเดินไปข้างหน้า และประเทศไทยก็ขึ้นขวนรถไฟนี้แล้ว มีทั้งโอกาสและความท้าทาย ทั้งกำแพงภาษีนำเข้าที่ทยอยลดลง และกำแพงภาษีส่งออกที่ทยอยหายไปด้วย

โลกการค้าออนไลน์จะกลายเป็นไร้พรมแดนขึ้นเรื่อยๆ คนซื้อไม่ต้องสนใจหรือต้องรู้ด้วยซ้ำว่าสินค้าที่ตัวเองสั่งนั้นจะถูกขนส่งมาทางไหน ทางเรือ หรือทางอากาศ หรือส่งมาจากประเทศไหน ระบบ Logistics ที่นับวันจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆจะเป็นตัวช่วยให้การค้าเสรีไร้พรมแดนวิ่งไปข้างหน้า

◌◌◌◌◌◌◌◌

2) Super App E-Commerce โตพุ่งในกลุ่มอาหารการกิน และของใช้ใน Supermarket

Super App E-Commerce โตขึ้นมาเป็นช่องทางการขาย E-Commerce อันดับ 3 รองลงมาจาก Marketplace และ Social Commerce แซงยอดขายผ่าน Website โดยตรงขึ้นมาในปี 2021 เห็นได้ชัดเจนว่าประเทศไทยเป็น Mobile First & App First แอพไหนที่ดึงให้คนเกิดพฤติกรรมการใช้ซ้ำๆได้ ก็จะเริ่มาขยับขยายกิจกรรมให้ผู้ใช้ได้ทำเพิ่ม ในเคสนี้คือกลุ่ม On-Demand Application คือ Grab, LINE MAN ที่เริ่มจากที่ Food Delivery เติบโตระเบิดในช่วง Covid เลยทำให้เกิดจำนวนผู้ใช้มหาศาลที่เข้าไปใช้งานในทุกๆวัน เช้า กลางวัน เย็น

จาก Traffic มหาศาลนี้ ท่าที่ Super Apps เหล่านี้จะใช้ในการเติบโตทำเงินต่อไปคือการขยายไปที่หลุ่มสินค้าอาหารการกินใน Super Market ตามรอย Meituan ที่เป็น On-demand App No.1 ของประเทศจีนที่ทำกำไรได้แล้วด้วยวิธีนี้

การที่ Super App ขยายกลุ่มสินค้าไป นับเป็นโอกาสของผู้ขายสินค้าในกลุ่ม Super Market เป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มากกกก และ Online Penetration ยังไม่เยอะครับ โมเดลที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า Quick Commerce ที่สามารถสั่งและส่งสินค้าได้รับของภายในวันเดียวแบบ Same-day Delivery ผู้ขายก็ชอบที่สามาถเชื่อมโยง (briedge) สินค้าที่หน้าร้านไปขายแบบ Online ได้ด้วย ผู้ซื้อก็แฮปปี้ที่ได้ของเร็ว และที่น่าจังตา ไม่ใช่เฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารที่ทำ Quick Commerce ได้ แต่จะได้เห็นสินค้าหลากหลายมากๆเริ่มเปิดตัว Official Brand หรือ Official Shop กันใน Grab, LINE MAN กันอย่างเยอะในปีนี้

◌◌◌◌◌◌◌◌

3) ปีทองของ Social Commerce ประเทศไทย Live Commerce จะโตแบบก้าวกระโดด และจะมีโมเดลใหม่ๆเกิดขึ้น

Social Commerce ปังมาตั้งแต่ปลายปี 2021 พิมรี่พายขายกล่องสุ่มได้ 1,000 กล่อง กล่องละ 1แสนบาท เป็นเงิน 100ล้านบาท ปี 2022 กระแสจะยังคงตามมา Brands ต่างๆจับมือกับ Live Super Stars ในการขายของ เป็นการทำ Influencer Marketing ที่มุ่งเน้นไปที่ยอดขาย หรือเราอาจจะเรียกได้ว่าปีนี้การทำ Influencer Marketing จะค่อนกลายเป็น Influencer Commerce

แพลตฟอร์มดาวรุ่งที่ผมว่าน่าจับตามองในปีนี้คือ Tiktok หรือ Douyin ในประเทศจีน ที่เป็น Social Media Platform ที่สร้างยอดขาย E-Commerce ได้สูงที่สุดอันดับ1 ที่ประเทศจีน ปี 2020 ทำยอดขายได้ 75 Billion USD ที่สองคือ Tmall Live และ Kuaishou ตามลำกดับ จุดน่าสนใจคือยอดขาย E-Commerce ที่ Douyin สร้างให้เกิดขึ้นได้นั้น 60% เกิดจากการที่ผู้ใช้ click ออกไปจากแอปแล้วไปซื้อที่เว็บไซต์หรือแอปอื่น แต่มากถึง 40% ที่เกิดการซื้อขายกันในแอปเลยหรือที่เรียกว่า Tiktok Shop (In-app Shopping)

กลยุทธ์ของ Tiktok นั่นจะเน้นทำเงินจาก E-Commerce แตกต่างจาก Facebook ที่มุ่งเน้นไปที่การขาย Advertising ปี 2021 Tiktok Indonesia มีการเปิดตัว Tiktok Shop แล้วในเดือน พ.ค.64 และผมเชื่อว่าปีนี้ Tiktok Thailand จะเปิดตัวตามมา

◌◌◌◌◌◌◌◌

4) ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง – กระตุ้นการช้อปออนไลน์ปี 2022

คนไทยชอบซื้อสินค้าแบบผ่อน แต่คนไทยที่มีบัตรเครดิตมีแค่ประมาณ 10% ของประชากรเท่านั้น เพราะมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถสมัครบัตรเครดิตได้ หรือบางคนก็วงเงินไม่พอใช้จ่าย อยากผ่อนแต่วงเงินเต็ม

นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในโลกฝั่งตะวันตกก่อนแล้วและขยายมาตลาดอินโดนีเซียและสิงค์โปรอย่างหนักในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือการทำ Digital Lending ผ่านการซื้อสินค้า หรือก็คือการเอาวิธีการปล่อยกู้ผ่านช่องทาง Digital มาใช้กับคนที่ไม่จำเป็นต้องมี Credit Card และเอาวงเงินผ่อนนั้นไปจ่ายซื้อสินค้า แบ่งจ่ายได้เป็นงวดๆ

ที่ประเทศอเมริกามี Affirm เป็นเจ้าใหญ่ และมาประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ที่แล้ว มีการเปิดตัวกันหลากหลายแพลตฟอร์มมากๆทั้งธนาคารที่ลุกขึ้นมาทำเองคือ K Pay Later และคนที่มีข้อมูลผู้ใช้เยอะๆ Dolfin, Rabbit Cash, LINE BK, True Money และ E-Commerce Platform ทำ BNPL เอง คือ Shopee Pay Later ที่หลายคนเข้าใจผิดว่า Shopee ใจดีให้ผ่อนซื้อสินค้าได้ฟรีๆ แต่เอาจริงๆคือฝังดอกเบี้ยเข้าไปในแต่ละงวดแล้ว นอกจากนี้ก็มีแพลตฟอร์มต่างชาติอย่าง Atome ที่มีแบ๊คเงินทุนระดมทุนมาเยอะก็ลุยตลาดไทยแล้ว

ในภาพรวมนี้ ผมเชื่อว่าปี 2022 หลากหลายเจ้าเหล่านี้จะระดม Go to Market ขยายให้วิธีการซื้อก่อนจ่ายทีหลังของตัวเองกระจายไปในแทบทึกจุดที่ซื้อสินค้าได้ทั้ง Online และ Offline หน้าร้านต่างๆเหมือนเวลาเราไปจ่ายเงินที่แคชเชียร์แล้วเราเห็นโปรโมชั่นบัตรเครดิตหลายๆเจ้า ทีนี้เราจะเจอโปรมชั่น BNPL ให้เลอืกกันให้งงกันไปเลยอีกจ้า

◌◌◌◌◌◌◌◌

5) Omni-Channel Commerce เป็นพฤติกรรมการช้อปหลักของคนไทย

คนไทย 9 ใน 10 คน หาข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยที่ 8 ใน 10 คน ใช้ช่องทางออนไลน์เป็นแหล่งในการหาข้อมูลตัดสินใจซื้อของ ไม่ว่าจะซื้อผ่าน Online หรือหน้าร้านก็ตาม Digital Platforms มีอิทธิพล และเป็นแหล่งข้อมูลหลักๆในการหาข้อมูลตัดสินใจซื้อของ ของคนไทย แต่สุดท้ายแล้ว คนไทยก็ซื้อสินค้าผ่านทั้งออนไลน์ และหน้าร้าน โดยส่วนใหญ่การซื้อขายยังคงเกิดที่หน้าร้านแบบ Offline อยู่ดี

ผู้ขายหรือธุรกิจที่มีหน้าร้าน จะมีจุดได้เปรียบกว่า Online Pure Play ที่มีแต่ขายออนไลน์อย่างเดียว เพราะผู้บริโภคคนไทยในภาพใหญ่ทั้งประเทศยังให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตในห้างสรรพสินค้า การได้จับสินค้าจริง คุยปรึกษากับคนขาย

โมเดลใหม่ๆเลยเกิดขึ้น เป็นการดันคน Online to Offline อย่าง Pomelo ที่มีโมเดล Tap.Try.Buy คือการดึงให้คนบน Online กดช้อปสินค้าจากในแอป Pomelo แต่ยังไม่มั่นใจว่าสินค้าเสื้อผ้าที่กดไว้หรือสนใจจะเหมาะกับตัวเราไหม อยากลองอะ แต่ลองผ่านออนไลน์ไม่ได้ ก็แค่กดให้จัดสินค้าเตรียมไว้ให้ที่ Shop Pomelo ที่เราผ่านบ่อยๆ เป็รชนการดึงคนบนออนไลน์ให้ไปหน้าร้านและปิดการขานที่นั่น

อีกตัวอย่าง เช่น Decathlon ที่เปิดหน้าร้านที่ลีลม เป็น Click & Collect หน้าร้านเล็กๆปรับปรุงจากตึกห้องแถว ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ ดึงคนบนโลกออนไลน์ให้เลือกซื้อสินค้าที่ครบครันได้ผ่าน Website แล้วจัดส่งได้ภายใน 2 ช.ม. ที่สาขา Click & Collect ไม่มีขั้นต่ำว่าต้องซื้อให้ถึง 1,500 ถึงได้ส่งฟรี สั่งไปเล่ยส่งฟรีที่สาขาไม่มีขั้นต่ำ แล้วสาขาทำหน้าที่เป็นตัวช่วย Up Sell ขยายโอกาสขายของเพิ่มอีกต่อด้วย

◌◌◌◌◌◌◌◌

คาด(เดา) โดย ไว ธนาวัฒน์ CEO & Co-Founder of Priceza 🙂

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s