วิชาความสุข ที่มีสอนแค่ในฮาร์วาร์ด เพราะชีวิตไม่ได้ต้องการแค่วิชาสำเร็จ โดย Tal Ben-Shahar Tal Ben-Shahar, Ph.D. เป็นอาจารย์อยู่มี่มหาวิทยาลัย Harvard ดร.ชาฮาร์ (ทาล) เปิดสอนวิชาการสัมนาเชิงบวก (Positive Psychology) ที่มหาวิทยาลับฮาร์เวิร์ด เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2022 มีนักศึกษาลงทะเบียนแค่ 8 คน วิชานี้ ทาลพานักศึกษาไปสำรวจสิ่งที่ทาลเชื่อว่าเป็นคำถามสำคัญที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคำถามอื่นๆอีกที นั่นคือ เราจะช่วยให้ตัวเราเองและผู้อื่นมีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร วิชานี้หรือในกลุ่มนักศึกษาเรียกว่า "ห้องเรียนความสุข" ได้รับความนิยมแชร์กันปากต่อปากจนมีคนลงทะเบียนเรียนมากถึง 380 คนในปีต่อมา และตอนปลายปี นักศึกษามากกว่า 20% ระบุว่า "วิชานี้ทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น" และหลังสุดที่เปิดวิชานี้มีคนลงทะเบียนเรียนมากถึง 855 คน ทำให้วิชานี้กลายเป็นชั้นเรียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การก่อตั้งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เวลาสอนจะจัดสอนกันในแซนเดอร์ส เธียรเตอร์ ที่เป็นหอคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ ทรงโค้งกลม จุคนได้เป็นพันคนเลยทีเดียว Dr. Ben-Shahar taught happiness to thousands of students at … Continue reading #อ่านจบแล้ว Happier วิชาความสุข
Tag: The Science of Well-Being
จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน
“จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน”พระบรมราโชวาท ในหลวง ร.9 จากบันทึกในหนังสือเฉลิมพระเกียรติ 36 แผนที่ชีวิตของพ่อ ความสุข เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายเฝ้าตามหา หลายคนเชื่อว่า… เงินทองมากมาย เงินเดือนสูงๆ ลาภยศ ตำแหน่งดีๆ หน้าที่การงานที่ประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากในระบบทุนนิยมต่างขวนขวาย วิ่งตามหามัน อยากที่จะได้มันมา เพราะเชื่อว่ามันจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราดีมากยิ่งขึ้น และทำให้เรามีความสุขได้อย่างยั่งยืน แต่หลายคน พอเราได้เงินดือนเพิ่มมากขึ้น รายได้มากขึ้น แต่ทำไม๊ ทำไม เราก็มีความต้องการ ความอยากได้เพิ่มมากขึ้นตามรายได้ของเรา เหมือนเป็นเงาตามตัวเราทีเดียว? ◌◌◌◌◌◌◌◌ ผมได้ลงเรียนคอร์สออนไลน์ The Science of Well-Being สอนโดย Laurie Santos อาจารย์ด้านจิตวิทยา แห่ง Yale University ได้ค้นพบว่า รายได้ดีๆมีผลต่อความสุข แต่เมื่อเรามีรายได้พอเพียงเกินจุดหนึ่งไปแล้ว ระดับความสุขกลับไม่ได้เพิ่มเติม และมากไปกว่านั้นสิ่งของนอกกายอันหรูหราราคาแพงนั้น ล้วนแล้วแต่ไม่ได้นำมาซึ่งความสุขให้กับเราได้แบบยั่งยืน เพราะไม่นานเราก็จะคุ้นชินกับมัน และกลับไปมีระดับความสุขเท่าๆเดิม.แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยิ่งเรามีมันเยอะมากเท่าไหร่ เราใช้มันบ่อยแค่ไหน เราก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น….สิ่งนี้คือ “จุดแข็งของเรา”.Prof. Dr. Martin Selingman … Continue reading จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน
วิธีการสร้างความสุขจาก “อากาศ” ทำยังไง?
บางคนอาจจะคิดว่า จะสุขได้ ต้องหาเงินไปซื้อของหรูหราฟู่ฟ่า บางคนอาจจะคิดว่า จะสุขได้ ต้องมีเวลาไปเที่ยวที่ที่อยากไปบ่อยๆ บางคนอาจจะคิดว่า จะสุขได้ ก็หารายได้ให้ได้เยอะๆสิ แต่มีหนึ่งวิธีที่ อ.ซานโตส ได้เล่าไว้ในคอร์ส The Science of Well-Being ที่เราสามารถสร้างความสุขได้เลยโดยไม่ต้องใช้เงิน เรามาต่อกันในตอนที่ 6 ของซีรียส์ #ความสุขอยู่หนใด ครับ ใครเพิ่งมาอ่านตอนนี้ ติดตามตอนที่ 1-5 ได้ที่ท้ายบทความ ◌◌◌◌◌◌◌◌ วิธีการสร้างความสุขจากอากาศ คือ การหมั่นสร้างความรู้สึกขอบคุณ (Gratitude) นั่นเองครับ Gratitude คือ ระดับของความรู้สึกขอบคุณที่เรามี และ แนวโน้มที่เราจะแสดงความรู้สึกขอบคุณนี้ (Appreciation) ออกไปให้เค้ารับรู้ ตามคำนิยามนี้ ทำให้ผมไม่สามารถหาคำภาษาไทยที่มาอธิบายความหมายของ Gratitude ได้ครบถ้วนเลยครับ ผมเลยจะขอใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษไปเลย มีการศึกษาโดย Emmons & Mccullough ให้คนทำการเขียนไดอารี่แห่งความขอบคุณ (Gratittude Journal) ว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อะไรคือ 5 เรื่องที่คุณรู้สึกขอบคุณ … Continue reading วิธีการสร้างความสุขจาก “อากาศ” ทำยังไง?
ดูซีรี่ย์ม้วนเดียวจบ vs. แบ่งค่อยๆดูทีละตอน แบบไหนฟินกว่ากัน?
คุณเคยเป็นมั้ยเวลาดูละครซีรี่ย์เกาหลี ละครยอดฮิต ดูเน็ตฟลิกซ์ แล้วอยากกดดูต่ออีกตอน อีกตอนน่ะ… แล้วก็หยุดตัวเองไม่ได้ซักที! การตะบี้ตะบันดูไปเรื่อยๆแม้จะมืดค่ำเลยเวลานอนเราไปแล้วก็ตาม มันทำให้เรามีความสุขได้มากขึ้นเรื่อยๆหรือเปล่านะ? มีการศึกษากันจริงๆจังในเรื่องนี้ครับ และ อ.ซานโตส ได้เล่าไว้ในคอร์ส The Science of Well-Being เรามาต่อกันในตอนที่ 5 ของซีรียส์ #ความสุขอยู่หนใด ครับ ใครเพิ่งมาอ่านตอนนี้ ติดตามตอนที่ 1-4 ได้ที่ท้ายบทความ ◌◌◌◌◌◌◌◌ หนึ่งในเทคนิคการบริหารความสุข ที่ อ.ซานโตส แนะนำคือ Interrupt Your Consumption คือให้ขัดจังหวะการทำอะไรนานๆ เวลาเราพึงพอใจกับอะไรมากๆ เช่น การติดละครซีรี่ย์ แล้วดูไปเรื่อยๆ ตอนแล้ว ตอนเล่า แบบหยุดไม่ได้ จากการศึกษาของ Nelson & Meyvis ในปี 2008 ได้บทสรุปว่า ระดับของความสุขของเราจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆในทุกๆขณะที่เราพยายามฝืนดูต่อไป… แต่เมื่อมีอะไรก็ตามมาขัดจังหวะการดูละครซีรี่ย์ของเราซักพัก แล้วเราค่อยกลับมาเริ่มดูใหม่ อาจจะอีกพักนึง หรือวันรุ่งขึ้นค่อยมาดูใหม่ ผลปรากฎว่า… ระดับความสุขจะพุ่งขึ้นมาสูงเท่าเดิมเหมือนตอนแรกๆเลยครับ! … Continue reading ดูซีรี่ย์ม้วนเดียวจบ vs. แบ่งค่อยๆดูทีละตอน แบบไหนฟินกว่ากัน?
ลงทุนกับอะไร ชีวิตจะได้มีความสุขได้ยาวๆ?
บางคนเลือกที่จะลงทุนกับของหรูหราฟู่ฟ่า รถหรูๆ นาฬิกาแพงๆ ของแบรนด์เนม ในตอนที่แล้ว ผมได้อธิบายให้ฟังแล้วว่า สิ่งเหล่านี้นำความสุขมาให้เราได้แบบชั่วคราว เพราะนานวันเข้าเราก็ชิน แล้วก็กลับไปมีระดับความพึงพอใจในชีวิตเท่าเดิม แล้วเราควรลงทุนกับอะไรกันล่ะที่จะทำให้เราสุขได้แบบยาวๆ? เรามาต่อกันในตอนที่ 4 ของซีรียส์ #ความสุขอยู่หนใด ครับ ใครเพิ่งมาอ่านตอนนี้ ติดตามตอนที่ 1, 2 และ 3 ได้ที่ท้ายบทความครับ ◌◌◌◌◌◌◌◌ อ.ซานโตส เล่าในคอร์ส The Science of Well-Being ว่า การลงทุนกับ “ประสบการณ์” สร้างสุขได้มากกว่าวัตถุสิ่งของ Bill Gates ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft เศรษฐีอันดับต้นๆของโลก มักจะสวมนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ Casio ราคาราวๆ 2,200 บาท เท่านั้นเอง นั่นทำให้เราตีความได้ว่า มูลค่านาฬิกาที่เค้าสวมใส่นั้นคงไม่ได้สำคัญเท่ากับการที่เค้ารักษาความตรงต่อเวลากับผู้คนอย่างแน่นอน อ.ซานโตส แนะนำว่า… อย่าเน้นลงทุนซื้อสิ่งของเพื่อสร้างความสุข แต่ให้ลงทุนกับสิ่งที่มันจะติดในจิตใจเราไปยาวนานกว่า เช่น การท่องเที่ยว(เพื่อสร้างประสบการณ์ยอดเยี่ยมให้เราจดจำ คิดถึงทีไรก็มีความสุข) หรือบางคนอาจจะเป็นผลงานศิลปะ (ที่เราสามารถเชยชมได้เรื่อยๆ) … Continue reading ลงทุนกับอะไร ชีวิตจะได้มีความสุขได้ยาวๆ?
ของหรูหราฟู่ฟ่านำมาซึ่งความสุขหรือไม่?
บางคนอาจจะมีเป้าหมายในการอยากได้ของหรูหราราคาแพงมาเป็นเจ้าของ บางคนอาจจจะคิดว่า…ถ้าเราได้ของราคาสูงๆเหล่านั้นมาครอบครองแล้ว มันจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นแน่นอน บางคนอาจจะคิดว่า…สิ่งของนอกกายเหล่านี้แหละที่ชีวิตเราต้องการ เพื่อทำให้เราไปสู่จุดสูงขึ้นในชีวิต แต่ความเป็นจริงแล้ว มันเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่? เรามาต่อกันในตอนที่ 3 ของซีรียส์ #ความสุขอยู่หนใด นะครับ ใครเพิ่งมาอ่านตอนนี้ ติดตามตอนที่ 1 และ 2 ได้ที่ท้ายบทความครับ ◌◌◌◌◌◌◌◌ อ.ซานโตส ได้เล่าให้ฟังในคอร์ส The Science of Well-Being อ้างถึงการศึกษาโดย Vogel Et Al. ในปี 2014 พบว่า… ยิ่งเราเล่น Facebook มากขึ้นเท่าไหร่ เราจะกลับยิ่งมีความเคารพนับถือต่อตนเอง (Self-Esteem) “ลดลงเท่านั้น” เพราะว่า…ในโลก Social Media นั้น มีเนื้อหาจำนวนไม่น้อย ที่เป็นภาพของการโชว์ออฟของผู้คนรอบตัวเรา ชีวิตที่ดูดีของพวกเค้า (ต้องออกตัวว่า…คนที่โพสเนื้อหาเหล่านั้นไม่ได้ทำผิดแต่อย่างใดเลย) แต่ประเด็นคือ การศึกษาพบว่า เราจะรู้สึกค่อยๆตัวเล็กลงๆ รู้สึกด้อยกว่าอยู่ลึกๆ และทำให้เราอยากมีของนอกกายหรูหราเหล่านั้นแบบคนอื่นเค้าบ้าง มากขึ้นเรื่อยๆๆๆ แต่ในทางกลับกันนั้น การศึกษาพบว่า… เมื่อเราเห็นคนรอบตัวที่ด้อยกว่า … Continue reading ของหรูหราฟู่ฟ่านำมาซึ่งความสุขหรือไม่?
ผู้ชนะเหรียญเงิน vs. เหรียญทองแดง ใครมีความสุขมากกว่ากัน?
ถ้าคิดตามลำดับผู้ชนะแล้ว ผู้ชนะเหรียญเงิน ได้อันดับที่สูงกว่า เหรียญทองแดง แต่คุณลองดูสีหน้า แววตาของผู้ชนะเหรียญเงินในรูปด้านซ้ายมือเทียบกับผู้ได้เหรียญทองแดงด้านขวามือสิครับ… ทำไมคนได้เหรียญเงินดูไม่ค่อยมีความสุขซักเท่าไหร่เลย? มีงานวิจัยโดย Medvec Et. Al. ในปี 1995 ทำการศึกษาเพื่ออยากรู้ว่า ในการแข่งขันกีฬา ผู้ชนะเหรียญเงิน vs. เหรียญทองแดง ใครมีความสุขมากกว่ากัน ผลปรากฎว่า ผู้ชนะเหรียญเงิน กลับกลายเป็นว่า มีระดับของความสุข “น้อยกว่า” ผู้ชนะที่ได้เหรียญทองแดง ทำไมมันดูค่อนข้างขัดแย้งกับความคิดของเรา? งานวิจัยได้อธิบายไว้ว่า ความสุขของคนเรานั้นไม่ได้คำนวณในเชิงค่าที่แน่นอน (Absolute) อย่างเหรียญเงินคือที่ 2 ซึ่งได้ตำแหน่งสูงกว่าเหรียญทองแดงคือที่ 3 แต่ระดับความสุขกลับวัดใน “เชิงเปรียบเทียบ” ครับ ผู้ชนะเหรียญเงิน เอาตัวเองไปเทียบกับคนที่ได้เหรียญทอง และเสียใจที่เกือบจะได้แล้วเชียวแต่ไม่ได้ ผู้ชนะเหรียญทองแดง เอาตัวเองไปเทียบกับคนที่ไม่ได้เหรียญอะไรซักอย่างเลย และดีใจมากๆที่อย่างน้อยก็ได้ซักเหรียญน่ะ มนุษย์เราชอบเปรียบเทียบโดยธรรมชาติ และจุดที่เราเอาไว้วัดระดับความสุขของเรา เรียกว่า จุดอ้างอิง (Reference Point) ◌◌◌◌◌◌◌◌ ในคอร์ส The Science of Well-Being อ.ซานโตส … Continue reading ผู้ชนะเหรียญเงิน vs. เหรียญทองแดง ใครมีความสุขมากกว่ากัน?
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับความสุข
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับความสุข คุณคิดว่าอะไรที่ทำให้ชีวิตคุณมีความสุขมากๆครับ? เงินทองมากมาย เงินเดือนสูงๆ ลาภยศ ตำแหน่งดีๆ หน้าที่การงานที่ประสบความสำเร็จ หรือเปล่า? สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากในระบบทุนนิยมต่างขวนขวาย วิ่งตามหามัน อยากที่จะได้มันมา เพราะเชื่อว่ามันจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราดีมากยิ่งขึ้น และทำให้เรามีความสุขได้อย่างยั่งยืน แต่หลายคน พอเราได้เงินดือนเพิ่มมากขึ้น รายได้มากขึ้น แต่ทำไม๊ ทำไม เราก็มีความต้องการ ความอยากได้เพิ่มมากขึ้นตามรายได้ของเรา เหมือนเป็นเงาตามตัวเราทีเดียว? ◌◌◌◌◌◌◌◌ เมื่อเดือนก่อน ผมได้ลงเรียนคอร์สออนไลน์วิชาหนึ่งของ Yale University (หนึ่งในท๊อปยูที่คนแข่งขันกันเข้าเรียนอย่างหนัก) มหาวิทยาลัยเยลเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกาครับ และอยู่ในกลุ่มไอวี่ลีก มีศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียงมากมาย เช่น จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คอร์สที่ผมเรียนชื่อว่า The Science of Well-Being หรือแปลเป็นไทยคือ “ศาสตร์แห่งความสุข” มีผู้ลงเรียนวิชานี้ที่ Coursera ไปแล้วมากถึง 2.8ล้านคน วิชานี้สอนโดย Laurie Santos อาจารย์ด้านจิตวิทยา … Continue reading ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับความสุข